สุดยอดผ้าไหมบาติก ผลงานรางวัลวิจัยดี งานประชุมวิชาการหม่อนไหม ประจำปี พ.ศ. 2562

สุดยอดผ้าไหมบาติก ผลงานรางวัลวิจัยดี งานประชุมวิชาการหม่อนไหม ประจำปี พ.ศ. 2562

สุดยอดไหมบาติก เมื่อการสร้างสรรค์ผลงานผ้าไหมบาติก ได้รับผลงานรางวัลวิจัยดี งานประชุมวิชาการหม่อนไหม ประจำปี พ.ศ. 2562  ในวันที่ 5 – 7 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา เรามาดูว่าผลงานการสร้างสรรค์ผลงานผ้าไหมบาติก ในผลงานวิจัยชิ้นนี้มีความน่าสนใจอย่างไร

ผลงานวิจัยโครงการวิจัยและพัฒนาลวดลายผ้าบาติกไหมไทยภาคใต้ เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์แฟชั่นไหมไทยร่วมสมัย (Development of “Batik” Pattern and technique in Southern Thai silk  for Creative Contemporary Thai Silk Fashion) เป็นโครการวิจัยที่เป็นการร่วมมือของ กรมหม่อนไหม กับ วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์  และสถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มศว ของ สุระเดช ธีรกุล  และทีมวิจัยสำนักวิจัยและพัฒนาหม่อนไหม กรมหม่อนไหม ร่วมกับ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รวิเทพ  มุสิกะปาน ดร. กรกลด คำสุข ทีมคณาจารย์หลักสูตรแฟชั่น สิ่งทอและเครื่องตกแต่ง วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มศว   ที่เน้นงานวิจัยต่อยอดนวัตกรรมตอบโจทย์ความต้องการของตลาด โดยมีการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมบาติกต้นแบบ ใน 4 กลุ่มช่างฝีมือที่เข้าร่วมโครงการ ดาหลาบาติก  ชัยบาติก กลุ่มมัดย้อมสีธรรมชาติ บ้านคีรีวง และกลุ่มผ้าบาติกบ้านคอเอน

จุดประสงค์เพื่อสร้างแนวทางและวิธีการในการพัฒนาลวดลายผ้าบาติกไหมไทยสำหรับผลิตภัณฑ์แฟชั่นไหมไทย ที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจด้านหม่อนไหม และเป็นโอกาสแลกเปลี่ยนความคิด มุมมอง และเพิ่มพูนความรู้ความสามารถ ของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเทคนิคบาติก  ผู้เชี่ยวชาญ และนักศึกษา เกิดเป็นเครือข่ายของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานทดลองในครั้งนี้  

ที่มีแนวทางร่วมกันดังนี้   แนวทางในการพัฒนาลวดลายผ้าบาติกไหมไทยสำหรับผลิตภัณฑ์แฟชั่นไหมไทย  ควรมีการปรับรูปแบบของลวดลายให้มีความร่วมสมัยมากขึ้น อาจมีการลดทอนรายละเอียดจากลวดลายเอกลักษณ์เดิมลง คงไว้ซึ่งลักษณะของลวดลายที่เกิดจากเทคนิคการวาดและพิมพ์เทียน เลือกใช้กลุ่มและสัดส่วนสีที่ลงตัว สอดคล้องกับ แนวคิดจากกระแสแนวโน้มแฟชั่นสากล ประยุกต์ให้มีความสอดคล้องกับความสามารถในการผลิตผ้าไหมบาติกของแต่ละกลุ่ม ใช้ความน่าสนใจโดยการมีเรื่องราวแรงบันดาลใจมาจากท้องถิ่น สิ่งแวดล้อมใกล้ตัว  ควรมีแนวคิดเชื่อมโยง การใช้ชีวิต รูปแบบของการพัฒนาผลิตภัณฑ์มีความเป็นชนบทแก่ชุมชนเมือง การยอมรับในสินค้าจากชุมชน สินค้าที่มีความเป็นหัตถกรรม สู่ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ของคนเมือง สร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์แฟชั่นที่เน้นไปในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการมาก ออกแนวลำลอง (casual style) มีลักษณะของผ้าไหมบาติกที่มีความพลิ้วไหว ดูมีความเคลื่อนไหว (movement) มีชีวิตชีวา

กลุ่มผ้าบาติกบ้านคอเอน ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  กลุ่มผู้ผลิตผ้าบาติก ซึ่งมีประสบการณ์มานานกว่า 10 ปี เน้นสร้างสรรค์ผืนผ้าด้วยการเขียนเทียน ลวดลายส่วนใหญ่ได้รับแรงบันดาลมาจากธรรมชาติและทะเลภูเก็ต พัฒนาลวดลายผ้าไหมบาติก

กลุ่มชัยบาติก ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต กลุ่มผู้ผลิตผ้าบาติก ซึ่งมีหัวหน้ากลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตผ้าบาติกที่โดดเด่นด้วยลวดลายแนวนามธรรม (Abstract) ที่ซับซ้อน ผสมผสานหลากหลายเทคนิคในการสร้างสรรค์ผ้าผืนที่มีความเป็นงานศิลปะ รวมไปถึงการผลิตผ้าบาติกด้วยเทคนิคการพิมพ์เทียนที่เน้นใช้ไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เชิงการค้า พัฒนาลวดลายผ้าไหมบาติกลาย abstract

กลุ่มดาหลาบาติก ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ผลิตผ้าบาติกที่โดดเด่นด้วยลวดลายดั้งเดิมที่มีกลิ่นอายความเป็นมลายูผสมกับไทยไปจนถึงลวดลายประยุกต์ที่มีความร่วมสมัย โดยเทคนิคการพิมพ์เทียนด้วยแม่พิมพ์โลหะ พัฒนาลวดลายผ้าไหมบาติก ลายประแจจีน และลายดอกจอก

กลุ่มมัดย้อมสีธรรมชาติ บ้านคีรีวง ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มผู้ผลิตผ้าบาติกด้วยสีธรรมชาติ สร้างสรรค์ลวดลายด้วยการเขียนเทียนที่มีแรงบันดาลใจมาจากพืชพรรณธรรมชาติและความอุดมสมบูรณ์ของบ้านคีรีวง ย้อมสีและลงสีด้วยสีธรรมชาติที่ใช้วัตถุดิบจากพืชพรรณในท้องถิ่น พัฒนาลวดลายผ้าไหมบาติก ย้อมด้วยสีธรรมชาติ ได้แก่ สีเขียวจากใบหูกวาง สีน้ำตาลจากแกนหลุมพอ และสีเทาจากเปลือกเงาะ

ลักษณะของงานบาติกในรูปแบบการเขียนเทียน (Wax writing) เอกลักษณ์ที่เกิดขึ้นจะขึ้นอยู่กับผู้คิดค้นลายหรือผู้วาดลาย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้มีความสามารถในการวาดภาพ และเป็นผู้นำกลุ่ม ลวดลายในการเขียนผ้าบาติกนั้นจะแสดงถึงเอกลักษณ์ของศิลปินผู้วาด แสดงถึงความเป็นตัวตน (Self-expression) สื่อผ่านชิ้นงานนั้นๆ ในรูปแบบของเส้นสายที่ใช้ เทคนิคในการวาด การใช้สี มีการลดทอนรายละเอียด (Simplify) จากแรงบันดาลจากสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น ไปจนถึงลักษณะการวาดภาพเชิงนามธรรม (abstract) จากจินตนาการของผู้วาดเอง ต้องมีการปรับแบบร่างการออกแบบไปตามทักษะและเอกลักษณ์ของแต่ละกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมบาติกกรณีศึกษา

ลักษณะของงานบาติกแบบพิมพ์เทียน (Cap printing) ขึ้นกับผู้ออกแบบลวดลายและวิธีในการผลิตแม่พิมพ์ซึ่งเป็นแม่พิมพ์จากพลาสติก และโลหะ ลวดลายการพิมพ์เทียนของแต่ละกลุ่มจะมีแบบอย่างเฉพาะตัว (style) แตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น ลวดลายที่พัฒนามาจากลวดลายดั้งเดิมมาจัดวางเรียงตัวเป็นลายแบบใหม่ หรือได้แรงบัลดาลใจมาจากลวดลายโบราณ ไปจนถึงการสร้างสรรค์ลวดลายใหม่ตามสมัยนิยม

ผ้าไหมบาติกสีธรรมชาติจากกลุ่มมัดย้อมสีธรรมชาติ บ้านคีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราช สร้างความแตกต่างจากกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมบาติกอื่นๆ ด้วยการย้อมผ้าไหมบาติกด้วยสีธรรมชาติที่มีเฉดสีที่นุ่มนวล เช่น สีเขียวจากใบหูกวาง สีน้ำตาลจากแกนหลุมพอ สีเทาจากเปลือกเงาะและฝักสะตอ สีส้มและสีชมพูจากใบมังคุด เป็นต้น จากวัตถุดิบภายในท้องถิ่น เป็นการสร้างเรื่องราว (Story) สร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมบาติกของกลุ่ม และเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมบาติก ควรมีการส่งเสริมและพัฒนาอยู่เสมอ เพื่อการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน เพื่อให้สอดคล้องกับเทรนด์ของโลก พฤติกรรมในการดำเนินชีวิตของคนที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่หยุดนิ่ง ประกอบการทำการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมบาติกที่ทันยุคทันเหตุการณ์ สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้ยังเป็นการคงไว้ซึ่งภูมิปัญญาการทำผ้าบาติกของท้องถิ่นที่สืบทอดต่อกันมา

คณะผู้ดำเนินงาน/ผู้วิจัยหวังว่า ความรู้ที่ได้จากการดำเนินโครงการนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ เป็นข้อมูลประกอบ เป็นแนวทาง และเป็นรูปแบบวิธีการหนึ่งในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ไหมไทยต่อไปในอนาคต

นางสาวศิริพร บุญชู อธิบดีกรมหม่อนไหม เปิดเผยว่า ที่ผ่านมากรมหม่อนไหมรับผิดชอบงานการพัฒนาหม่อนไหมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำแบบครบวงจร การพัฒนางานวิจัยจึงเป็นเรื่องตั้งแต่วัตถุดิบต้นน้ำ ไปจนถึงการแปรรูปที่เป็นปลายน้ำ ซึ่งลักษณะของงานวิจัยของไหมที่ออกมาจะต้องเป็นงานวิจัยที่ตอบโจทย์ ทั้งในเรื่องการแก้ปัญหาของเกษตร ผลผลิต การแปรรูป การตลาด และเน้นการต่อยอดนวัตกรรมเพื่อที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าหม่อนไหม นอกจากนี้แล้วในปัจจุบันงานวิจัยจะให้ความสำคัญเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมอีกด้วย คณะกรรมการ จึงคัดเลือกมอบรางวัล ผลงานวิจัยในระดับดี

โครงการวิจัยที่เกิดจากการร่วมมือของทั้ง 2 หน่วยงานในครั้งนี้ เกิดจากการ MOU ระหว่างกันของ กรมหม่อนไหม และ วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ในด้านต่างๆ รวมถึงการทำงานวิจัยและการเรียนการสอน  ที่เน้นอยู่ในระดับปริญญาตรี หลักสูตร แฟชั่น สิ่งทอและเครื่องตกแต่ง และระดับปริญญาโท หลักสูตร นวัตกรรมการออกแบบ

PROGRAM AT FASH SWU

B.A (Fashion, Textiles, and Accessories)

ดาวน์โหลดคู่มือแนวทางการเรียนการสอน ( Download ; A Guide to FASH SWU CCI )
 
 INTRODUCTION : Why choose this program at FASH SWU CCI

Pathway structure: On BA Fashion, Textiles, and Accessories, you can choose to study one of three pathways: Fashion Design, Textiles Design, and Accessories Design.

Professionals and sponsors: The program provides opportunities for collaboration with external professionals and sponsors. Previously, these have included The Queen Sirikit Department of Sericulture, Ministry of culture Thailand, Bunka Fashion School (Japan/Thailand), MC Group Public Company Limited, Bangkok International Fashion Week (Siam Piwat Company Limited).

Industry networks: You can take advantage of the course’s excellent relationship with the international fashion community. This will allow you to experience placements drawn from a wide and distinguished range of sources. (Public and private sectors)

Alumni success: Our graduates work across a wide spectrum of careers in fashion. They have gone on to establish their own labels or to work as company designers, freelancers and consultants.

KANAPOTA https://www.kanapotaunsorn.com/

Vinn Patararin https://www.vinnpatararin.com/

ADI https://www.adi-studio.com/

ทำไม #เรียนแฟชั่นต้องเรียนมศว

Pathway structure: หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แฟชั่น สิ่งทอ และเครื่องตกแต่ง ( BA Fashion, Textiles and Accessories) คุณสามารถเลือกศึกษาและทำผลงานจบในเชิงลึก ในด้านใดด้านหนึ่งใน 3 ด้าน 1. การออกแบบแฟชั่น 2.การออกแบบสิ่งทอ และ 3. การออกแบบเครื่องตกแต่งแฟชั่น

Professionals and sponsors: หลักสูตรนี้ให้โอกาสคุณในการศึกษาและทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ โดยหลักสูตรได้สร้างความร่วมกับสถาบันในประเทศ ได้แก่ กรมหม่อนไหม กระทรวงวัฒนธรรม  โรงเรียนบุงกะแฟชั่น (ญี่ปุ่น/ไทย) บริษัท แมคกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล แฟชั่น วีค (บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด) เป็นต้น และในต่างประเทศ ได้แก่ University of the Arts London, University for the Creative Arts เป็นต้น

Industry networks: คุณจะได้ประโยชน์จากความสัมพันธ์อันดีเยี่ยมของหลักสูตรที่มีกับภาคอุตสาหกรรมของไทยและต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยให้คุณได้มีประสบการณ์ในการเรียนและการทำงานจากแหล่งที่มาที่หลากหลายและโดดเด่น โดยเฉพาะการเรียนระยะสั้นและฝึกประสบการณ์ในต่างประเทศ

Alumni success: หลักสูตรของเรามีผู้สำเร็จการศึกษาไปที่ทำงานในหลากหลายอาชีพในอุตสาหกรรมแฟชั่นทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งพวกเขาก็สามารถนำความรู้ที่เค้าเรียนจบไปเรียนต่อทั้งในและต่างประเทศได้ และทำงานการออกแบบและสร้างแบรนด์ของตนเอง หรือทำงานเป็นนักออกแบบของบริษัทต่างๆ ทำงานฟรีแลนซ์  เป็นที่ปรึกษา และอาจารย์สอนแฟชั่นในสถาบันชั้นนำ  

KANAPOTA https://www.kanapotaunsorn.com/

Vinn Patararin https://www.vinnpatararin.com/

ADI https://www.adi-studio.com/n,

Program overview

Fashion, Textiles, and Accessories Program We create this program based on the need of Thai fashion industry. With our professors’ experience, we focus on aspiring new entrepreneurs who can integrate the knowledge of design, science, technology and innovation development based on our folk wisdom. We will effectively increase the value of fashion products and brands in order to help our students compete international market.

หลักสูตรแฟชั่น สิ่งทอ และเครื่องตกแต่ง  เราพัฒนาหลักสูตรตามตามความต้องการของอุตสาหกรรมแฟชั่นของไทย และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ให้สอดคล้องกับความเป็นไปได้ในอุตสาหกรรมแฟชั่นระดับโลก จากด้วยประสบการณ์ของทีมงานและอาจารย์ เรามุ่งเน้นสร้างการเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ที่สามารถบูรณาการความรู้ด้านการออกแบบ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพัฒนานวัตกรรมภูมิปัญญาไทย  เราเน้นความคิดสร้างสรรค์เพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์แฟชั่นและสร้างแบรนด์อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อช่วยให้ผู้เรียนของเราสามารถแข่งขันได้ในตลาดต่างประเทศ

The course contents include:

For first year students, the program are mainly focus on design skills and creativity. Students can creatively design the products.

Arts and Creative Design Technology, Theory and Process in Fashion Industry, History of Art and Design study, Creative Fashion Sketching, Creative Digital Fashion, Pattern Making and Cutting Technology for Fashion Industry, Sewing Technology for Fashion Industry.                                                                                                   

สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่1 การเรียนการสอนเน้นเกี่ยวกับทักษะการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์เป็นหลัก ผู้เรียนสามารถมีความคิดสร้างสรรค์และออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นได้อย่างสร้างสรรค์และมีลักษณะเฉพาะตน  เช่น รายวิชา 

Arts and Creative Design Technology, Theory and Process in Fashion Industry, History of Art and Design study, Creative Fashion Sketching, Creative Digital Fashion, Pattern Making and Cutting Technology for Fashion Industry, Sewing Technology for Fashion Industry. 

For second year students, the program are mainly focus on technology for creating prototypes of fashion products.

Fashion Seminar, Fashion Design Concepts and Creative Process, Fashion History and Culture, Creative Materials and Technical practice for Fashion Industry, Creative Practice in Textiles and Materials Experimentation for Fashion Industry, Practice in Thai Wisdom Development for Fashion Industry.

สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่2 การเรียนการสอนเน้นการออกแบบแฟชั่นสร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสำหรับการสร้างต้นแบบของผลิตภัณฑ์แฟชั่น เช่น รายวิชา

.Fashion Seminar, Fashion Design Concepts and Creative Process, Fashion History and Culture, Creative Materials and Technical practice for Fashion Industry, Creative Practice in Textiles and Materials Experimentation for Fashion Industry, Practice in Thai Wisdom Development for Fashion Industry.

For third year student, the program are mainly focus on the process of marketing, management and training in the fashion industry. Our students will have to take an internship for gaining real experience.

Fashion Styling, Fashion Consumer Behaviour, Fashion Marketing and Management, Thinking and Research Methodology for Fashion Industry, Creative Fashion Collection Development Technology, Creative Fashion Construction, Creative Draping for Fashion Industry, Internship in Fashion Industry.

สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่3 การเรียนการสอนเน้นการออกแบบแฟชั่นสร้างสรรค์ร่วมกับแนวคิดด้านการการตลาดและการจัดการ สร้างโอกาสในการฝึกประสบการณ์จริงในอุตสาหกรรมแฟชั่น ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น รายวิชา 

Fashion Styling, Fashion Consumer Behaviour, Fashion Marketing and Management, Thinking and Research Methodology for Fashion Industry, Creative Fashion Collection Development Technology, Creative Fashion Construction, Creative Draping for Fashion Industry, Internship in Fashion Industry.

For fourth year students, the program are mainly focus on inventing and developing innovation in fashion. Students will learn with the method of corporative education in places of business. Experts will closely help and encourage them to learn. Students will present their works via exhibition and fashion show. This will be the starting points of their career paths.

Cooperative Education in Fashion Industry, Fashion Industry Studio Project , Studio Portfolio for Fashion Industry.

สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่4 การเรียนการสอนเน้นการออกแบบแฟชั่นสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์แฟชั่นเป็นหลัก นักศึกษาจะได้เรียนรู้และได้รับคำปรึกษาในสถานประกอบการ  จากผู้เชี่ยวชาญชั้นนำที่จะคอยช่วยเหลือและสนับสนุนให้เรียนรู้อย่างใกล้ชิด นักศึกษาจะสร้างสรรค์ผลงานและนำเสนอผลงานผ่านนิทรรศการและแฟชั่นโชว์ ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นให้คนในอุตสาหกรรมแฟชั่นได้เห็นผลงานสร้างสรรค์และการต่อยอดของเส้นทางอาชีพในอุตสาหกรรมแฟชั่นของพวกเขา เช่น รายวิชา 

Cooperative Education in Fashion Industry, Fashion Industry Studio Project , Studio Portfolio for Fashion Industry.

Staff

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รวิเทพ มุสิกะปาน

หนึ่งในทีมผู้ก่อตั้ง หลักสูตรแฟชั่น มศว ที่ยังทำงานอย่างต่อเนื่องในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มากกว่า 25 ปี วางแผนหลักสูตรและดูนิสิตตั้งแต่ รุ่นที่ 1 (FASH1) จนถึง รุ่นที่ 21 ในคณะศิลปกรรมศาสตร์ จนในปี พ.ศ. 2560 เค้าได้นำทีม FASH SWU ทั้งหมดย้ายมาพัฒนาหลักสูตรโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อหลักสูตรแฟชั่นของไทยตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรมแฟชั่นของไทย และมีความเป็นไปได้ให้สอดคล้องกับความเป็นไปได้ในอุตสาหกรรมแฟชั่นของโลก โดยมาร่วมกับทีมก่อตั้ง CCI (College of Creative Industry) และเปิดการเรียนการสอน FASH SWU รุ่นที่ 22 ต่อเนื่องขึ้นที่นี่ เค้าเป็นคนแรกที่ผลักดันให้มีจัดการนำเสนอผลงานจบของนิสิตด้วยแฟชั่นโชว์ของในมาตราฐานสากล ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยแรกในประเทศไทย 

เค้ามีความเชี่ยวชาญทางด้านการสอน fashion sketching and design และทำหน้าที่ประธานการทำ Fashion Design Thesis ต่อเนื่องมาอย่างยาวนานกว่า 20 ปี โดยเค้ามีพื้นบานการเรียนการสอนจากการจบปริญญาตรีและปริญญาโทศิลปศึกษา ก่อนได้รับทุน จาก มศว ในปี พ.ศ. 2545 ให้ไปเรียนที่ Central Saint Martins คอสร์  Expremental Fashion Design และกลับไปอีกครั้งในปี พ.ศ. 2559 คอสร์  Fashion Sketch  Book ในปี พ.ศ. 2561 Draping Womenwear Design  เพื่อกลับมาพัฒนาการเรียนการสอน  เค้าทำปริญญาเอกในหัวข้อ ผู้ทรงอิทธิพลแฟชั่นไทยร่วมสมัย เค้าทำงานวิจัยด้านการออกแบบแฟชั่นและแสดงผลงานด้านการออกแบบแฟชั่นในงานระดับประเทศ Bangkok International Fashion Week และได้รับรางวัลทางวิชาการและการออกแบบ เช่น

รางวัลชนะเลิศ “Gold Medal Award”  ในงาน Thailand Research Expo 2014 โครงการพัฒนาลวดลายผ้าไหมไทยให้กับชุมชนนำร่อง กรมหม่อนไหม ปี 2556

รางวัลชนะเลิศ Startups and SMEs Pitching Driving ในงาน Thailand Innovation Hubs 4.0 s ประเทศไทย สำนักงานวิจัยแห่งชาติ ผลงาน ลวดลายพิมพ์กัดผ้าม่อฮ่อมผสมเทคโนโลยีการปักผ้าสู่สินค้าเครื่องตกแต่งแฟชั่น Fashion Accessories แบรนด์ขวัญโย

รางวัลชนะเลิศ WINNER AWARDS 2020 : New Face Designer. ในงาน CDA Design Awards 2020

เค้าสนับสนุนให้เกิดการสร้างสรรค์หัวข้อการทำ Fashion Design Thesis ในการใช้แนวคิดภูมิปัญญาไทย (Thai Wisdoms) มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2547 และเริ่มผลักดันแนวคิด BCG เข้ามามีส่วนในแนวทางการทำ Fashion Design Thesis ในปี พ.ศ. 2559 เป็นต้น จนเอกลักษณ์ของ FASH SWU CCI   

ดร. กรกลด คำสุข

เป็นหนึ่งในทีมก่อตั้ง FASH SWU ที่เรียกว่าเป็นรุ่นที่ 2 ที่ดำเนินการเรียนการสอนและพัฒนาหลักสูตร FASH SWU  เค้าเป็นศิษย์เก่าของ FASH SWU รุ่นที่3 เมื่อเรียนจบก็ถูกทาบทามให้เป็นเป็นอาจารย์สอนรุ่นน้องๆต่อในปีถัดไป เค้าได้รับการสนันสนุนจากทีมคณาจารย์จนได้ได้รับทุน กพ. ให้ไปเรียนต่อปริญญาโทและเอก รวม 5 ปี ที Birmingham City University อาจจะเรียนได้ว่าเค้าเป็นอาจารย์ทางด้านแฟชั่นคนแรกของประเทศไทย ที่จบ ด้านการออกแบบแฟชั่นตั้งแต่ปริญญาตรีจนถึงปริญาเอก เค้าทำหัวข้อปริญญาเอก ในหัวข้อ 
 
เค้ามีความเชี่ยวชาญชาญในด้านการสอนทฤษีทางด้านแฟชั่น  แพทเทรินและการตัดเย็บ  เค้าเป็นทีมปรึกษาและดำเนินการทำ Fashion Design Thesis ของนิสิตมามากกว่า 20 ปี และเค้ายังมีการเรียนรู้ด้านแพทเทรินอยู่อย่างสม่ำเสมอ ในปี พ.ศ. 2561 คอสร์ Ceartive Pattren ที่ Central Saint Martins เค้าทำงานวิจัยด้านการออกแบบแฟชั่นและแสดงผลงานด้านการออกแบบในงาน Bangkok International Fashion Week  โดยได้รับการสนับสนุน จาก  Jim Thompson ใน Collection ที่ชื่อ Victorian Excursion และยังได้รับรางวัลทางวิชาการและการออกแบบ เช่น 
รางวัลชนะเลิศ “Gold Medal Award” ในงาน Thailand Research Expo 2014

โครงการพัฒนาลวดลายผ้าไหมไทยให้กับชุมชนนำร่อง กรมหม่อนไหม ปี 2556

เค้าสนับสนุนให้เกิดการสร้างสรรค์หัวข้อการทำ Fashion Design Thesis ในการใช้แนวคิดภูมิปัญญาไทย (Thai Wisdoms) มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2547 และเริ่มผลักดันแนวคิด BCG เข้ามามีส่วนในแนวทางการทำ Fashion Design Thesis ในปี พ.ศ. 2559 เป็นต้น จนเอกลักษณ์ของ FASH SWU CCI 

ดร.นัดดาวดี บุญญะเดโช

ดร.วรฐ ทรัพย์ศรีสัญจัย

ดร.กนกวรรณ ใจหาญ

อาจารย์ภทรฤน พงษ์ประสิทธิ์

อาจารย์แพรวา รุจิณรงค์

FASH19 Graduate Fashion Presentation

Welcome To FASH Graduate Showcase

FASH19 THE GRADUATION FASHION PRESENTATION แฟชั่นโชว์แสดงผลงานแฟชั่นนิพนธ์ โดยนิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประจำปีการศึกษา 2561 วันที่ 20 พฤษภาคม 2562 ชั้น 23 สิงห์คอมเพล็กซ์

FASHION FILM

PROFESSIONAL SHOWCASE

PROFESSIONAL SHOWCASE

FASH BY CCI (College of creative industry) Srinakharinwirot University COLLABORATIVE FASHION INNOVATION PROJECTS

โครงการ innovation hub โครงการวิจัย นวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรฐกิจสร้างสรรค์ (แฟชั่น) ทุนวิจัย สกอ., ทปอ. , UCCN HUB เครือข่ายภาคกลางตอนบน,
สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มศว 
FASH SWU X BAN PUAN LOPBURI
โครงการพัฒนาและออกแบบเครื่องแต่งกายกันยุง จากผ้ามัดหมี่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีอาสาบ้านพวน ตำบลหินปัก อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี โดย ดร. กรกลด คำสุข
โครงการพัฒนาเฉดสีย้อมธรรมชาติจากภูมิปัญญาผ้าไหมโฮลสี สู่การต่อยอดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สิ่งทอไหม โดย ผศ.ดร. รวิเทพ มุสิกะปาน, แพรวา รุจิณรงค์
กราบขอบคุณ Research SWUสถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มศว ในงาน BANGKOK INTERNATIONAL FASHION WEEK 2019 : 28 MARCH 2019 : SIAM CENTER

The new fashion school of SWU,
College of creative industry
Srinakharinwirot University.
Research SWU Srinakharinwirot University PRswu College of Creative Industry SWU

#fashswuoriginal
#fashiondesigngraduate
#thaifashiondesigner
#fashiondesign
#srinakharinwirotuniversity
#fashion
#thaidesigner
#fashiondesigner
#fashionshow
#thaidesigner
#fashionblogger
#fashionnews
#fashionshow
#fash_swu
#prswu
#cciswu
#เรียนแฟชั่นต้องเรียนcciswu
#bifw2019
#siamcenter