แนวทางการสร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์หม่อนไหมอย่างยั่งยืน  

แนวทางการสร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์หม่อนไหมอย่างยั่งยืน กรณีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทอผ้าบ้านอ่างเตย ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา

บทความโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รวิเทพ มุสิกะปาน

แนวทางการสืบทอดภูมิปัญญาด้านการทอผ้าที่มีกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างยั่งยืน ตัวอย่างชุมชนที่รวมกลุ่มที่สร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์หม่อนไหม ในแนวคิดแฟชั่นเพื่อความยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพและน่าจะเติบโตได้อย่างยั่งยืน กลุ่มหนึ่งใน จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทอผ้าบ้านอ่างเตย ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา 

     การใช้เรื่องราว เรื่องเล่าของพื้นที่มาใช้ในการสร้างมูลค่าในด้านการออกแบบ  เนื่องจากพื้นที่ของหมู่บ้านมีลักษณะเป็นอ่าง เมื่อนำมารวมกับความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยเตยป่าที่ขึ้นอยู่ในลำห้วยที่ไหลผ่านหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงพากันเรียกพื้นที่แห่งนี้ว่า “บ้านอ่างเตย”

     การใช้ทักษะด้านงานหัตถกรรมมาต่อยอดการสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างต่อเนื่องและยาวนาน   ชุมชนบ้านอ่างเตย  ประชากรส่วนใหญ่อพยพมาจากภาคอีสานตอนล่าง และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำไร่ ทำนา สวนผลไม้ ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม และได้มีการนำภูมิปัญญาการทอผ้าที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ  ซึ่งเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของทางภาคอีสานมาถือปฏิบัติจนเป็นภูมิปัญญาที่อยู่คู่กับวิถีชุมชน โดยชุมชนบ้านอ่างเตยมีการรวมตัวกันก่อตั้งกลุ่มทอผ้าไหมบ้านอ่างเตยขึ้น

     มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์งานหัตถกรรมในกระบวนการอย่างยั่งยืน  กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทอผ้าบ้านอ่างเตย มีกระบวนการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หม่อนไหม ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ โดยกลุ่มทอผ้าชุมชนบ้านอ่างเตย เป็นกลุ่มทอผ้าที่ดำเนินการในการสืบทอดภูมิปัญญาด้านการทอผ้าที่ ครบวงจรตั้งแต่การปลูกหม่อน เลี้ยงไหม การทอผ้า การย้อมสีด้วยสีธรรมชาติ มีลวดลายผ้าขาวม้า ลวดลายผ้าลายโฮล ลวดลายมัดหมี่ดั้งเดิมของภูมิปัญญาทางภาคอีสาน และผ้าไหมมัดหมี่ลายหนามเตย ที่เป็นลายเอกลักษณ์ของชุมชนบ้านอ่างเตย ตลอดจนการนำผ้าทอไปตัดเย็บเป็นกระเป๋า และผลิตภัณฑ์ของใช้ของที่ระลึกอื่นๆ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน “กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทอผ้าบ้านอ่างเตย” ยังเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมด้านการทอผ้า โดยเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวเข้าชมแปลงหม่อน และทดลองสาวไหม ทอผ้าด้วยตนเอง จึงเป็นเหตุให้มีหน่วยงาน องค์กร และประชาชน เข้าศึกษาดูงานและเยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชน “กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทอผ้าบ้านอ่างเตย”จำนวนมากและต่อเนื่อง

        จากการลงพื้นที่ของคณาจารย์ หลักสูตรแฟชั่น สิ่งทอและเครื่องตกแต่ง ในโครงการความร่วมมือพัฒนางานออกแบบผลิตภัณฑ์ไหมไทยเชิงสร้างสรรค์ประจำปี 2566 ระหว่างหลักสูตรแฟชั่น สิ่งทอและเครื่องตกแต่ง กับ สำนักวิจัยและพัฒนาหม่อนไหม กลุ่มวิจัยการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  โดย ผู้ทรงคุณวุฒิ จาก หลักสูตรแฟชั่น สิ่งทอและเครื่องตกแต่ง วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หัวหน้านักวิจัยโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รวิเทพ มุสิกะปาน  อาจารย์ ดร. กรกลด คำสุข ผู้ช่วยศาสตาจารย์ ดร. อรัญ วานิชกร อาจารย์ แพรวา รุจิดำรง  ผู้ทรงคุณวุฒิ จากกรมหม่อนไหม น.ส.สมพร เลิศจิรกุล นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ นายสุรเดช ธีระกุล นักวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ชำนาญการ นางสาวจิรติกร จูจันทร์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ สรุปผลการวิเคราะห์ถึงจุดแข็งและจุดอ่อนในด้านต่างๆร่วมกัน ได้ดังนี้

        ด้านการผลิต กลุ่มทอผ้าชุมชนบ้านอ่างเตย เป็นกลุ่มทอผ้าที่ดำเนินการในการสืบทอดภูมิปัญญาด้านการทอผ้าที่ ครบวงจรตั้งแต่การปลูกหม่อน เลี้ยงไหม การทอผ้า ครบวงจรได้ด้วยสมาชิกในกลุ่ม ที่มีสมาชิกความเชี่ยวชาญทำได้ครบทุกกระบวนการเกิน 70 เปอร์เซ็นต์ ของสมาชิกในกลุ่ม และมีความเชี่ยวชาญ ด้านการย้อมสีธรรมชาติได้สวยงามและเป็นเอกลักษณ์ เช่น สีเหลือง ได้จากประโหด ดอกดาวเรือง สีน้ำตาล ได้จากฝักคูน
สีดำ ได้จากเปลือกยูคาทับโคลน ส่งมอบภูมิปัญญาการทอผ้าของชาวอีสานสู่ลูกหลานกว่า 3 รุ่นแล้ว
พวกเขาจัดตั้งกลุ่มทอผ้าไหมบ้านอ่างเตยขึ้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2536 ต่อมาได้จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

        ด้านลวดลายและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กลุ่มทอผ้าชุมชนบ้านอ่างเตย เป็นกลุ่มทอผ้าที่ดำเนินการในการสืบทอดภูมิปัญญาด้านการทอผ้าที่ความเชี่ยวชาญในลวดลายอัตลักษณ์ดั้งเดิม ลวดลายผ้าขาวม้า ลวดลายผ้าลายโฮล มีลวดลายร่วมสมัยอัตลักษณ์ที่จดจำได้ คือ ผ้าไหมมัดหมี่ลายหนามเตย

         ด้านการตลาด กลุ่มทอผ้าชุมชนบ้านอ่างเตย เป็นกลุ่มทอผ้าที่ดำเนินการในการสืบทอดภูมิปัญญาด้านการทอผ้าที่มีการตลาดในรูปแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่ได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากภาครัฐ กรมหม่อนไหม
และกรมพัฒนาชุมชน

     สิ่งที่ต้องพัฒนาและต่อยอด ควรเร่งกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการผลิต ตั้งแต่การปลูกหม่อน เลี้ยงไหม การทอผ้า ให้กับทายาทหรือผู้ที่ต้องการเข้ามาเป็นสมาชิกในกลุ่มเพิ่มเติมที่มีอายุน้อยกว่า เพราะสมาชิกกลุ่มทอผ้าชุมชนบ้านอ่างเตย ปัจจุบันเป็นกลุ่มทอผ้าที่เป็นผู้อายุเฉลี่ยเกิน 50 ปี ถึงแม้กลุ่มทอผ้าชุมชนบ้านอ่างเตย มีความเชี่ยวชาญในลวดลายอัตลักษณ์ดั้งเดิม ลวดลายผ้าขาวม้า ลวดลายผ้าลายโฮล และมีลวดลายร่วมสมัย ผ้าไหมมัดหมี่ลายหนามเตย แต่ยังไม่มีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์แฟชั่นร่วมสมัยในรูปแบบใหม่ๆ กลุ่มทอผ้าชุมชนบ้านอ่างเตย ยังขาดองค์ความรู้ด้านการตลาดผลิตภัณฑ์แฟชั่นของชุมชน ในด้านการประชาสัมพันธ์และการขาย ในการพึ่งพาตัวเอง เช่น การประชาสัมพันธ์และจัดจำหน่ายสินค้าในรูปแบบออนไลน์

         โดยแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สรุปได้ว่า ใช้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ในแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ดำเนินการออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์ (Fashion Lifestyle)  โดยใช้แนวคิดในการผสมผสานความคิดสร้างสรรค์ (Creative) นวัตกรรม (Innovation) และอัตลักษณ์พื้นถิ่นเข้าไว้ด้วยกัน คือ การนำแนวคิดด้านการอนุรักษ์งานหัตกรรมเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ด้วยการแสดงความเคารพคุณค่าทางศิลปหัตถกรรม และวัฒนธรรมมาผสมผสานการใช้ชีวิตในวิถีปัจจุบันได้อย่างกลมกลืน เพื่อให้สิ่งที่มีคุณค่าในอดีตจากความหลากหลายถูก ต่อยอดและอยู่ร่วมกับคนรุ่นใหม่ ทั้งนี้จากการลงพื้นที่ สรุปได้ว่าการพัฒนาผลิตภัณฑ์ แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แฟชั่นในแนวทาง Zero Waste ที่เหมาะสมกับการออกแบบแฟชั่นจากวัสดุท้องถิ่นเพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์และสอดคล้องกับศักยภาพกระบวนการผลิตของกลุ่มทอผ้าชุมชนบ้านอ่างเตย ได้อย่างยั่งยืน  

    แรงบันดาลใจในการออกแบบ (Inspiration) ดำเนินการออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์ (Fashion Lifestyle)  โดยใช้แนวคิดในการผสมผสานความคิดสร้างสรรค์ (Creative) นวัตกรรม (Innovation) และอัตลักษณ์พื้นถิ่นเข้าไว้ด้วยกัน คือ การนำแนวคิดด้านการอนุรักษ์งานหัตกรรมเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ด้วยการแสดงความเคารพคุณค่าทางศิลปหัตถกรรม และวัฒนธรรมมาผสมผสานการใช้ชีวิตในวิถีปัจจุบันได้อย่างกลมกลืน เพื่อให้สิ่งที่มีคุณค่าในอดีตจากความหลายหลายถูก ต่อยอดและอยู่ร่วมกับคนรุ่นใหม่ ในแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) หากพูดกันแบบง่าย ๆ ก็คือ แนวคิดที่สนับสนุนให้เราใช้สิ่งของหรือทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด มีการวางแผนให้สิ่งของที่เราใช้สามารถคืนสู่สภาพเดิมหรือพร้อมนำกลับมาใช้  โดยใช้ชื่อ Collection ว่า “Cyclical Beauty”

        โดยใช้การเลือกผ้าผืนที่สำเร็จ ผ้าไหมทอมือย้อมสีธรรมชาติ เลือกสีจากหนังสือแนวโน้มและทิศทางผ้าไทยและการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย เล่มที่ 3 (Thai Textiles Trend Book Spring/Summer 2023) ใน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา กลุ่มสี ตัวตนข้ามวัฒนธรร (Expressive Exotic) ที่มีแนวคิด ประสบการณ์จากการเดินทาง มีส่วนในการช่วยเพาะบ่มอัตลักษณ์ ของผู้คนให้งอกเงยยิ่งได้พบเห็น งานศิลป์ และสัมผัสวัฒนธรรมอันหลากหลายมากเท่าใด ความเจนจัดในแง่ตัวตนและทักษะทางความคิดสร้างสรรค์ก็ยิ่งสั่งสมจนสามารถสร้างความรู้สึกอิ่มเอมดื่มด่ำใจได้มากขึ้นเท่านั้น ตัวตนของกลุ่มคน เหล่านี้เปรียบได้กับจุดตัดอันสลับ- ซับซ้อนระหว่าง “เวลาที่พอกพูน” กับ “วัฒธรรมอันหลากหลาย” โดยเลือกสี  ทองคำเปลว รหัส PANTONE 15-1049 TCX  ไฟฑูรย์ PANTONE 12-0740 TCX   ปะการัง PANTONE 16-1362 TCX   ปูนแดง PANTONE 15-1435 TCX   หยกอ่อน  PANTONE 13-6110 TCX  เขียวมะนาว PANTONE 14-0340 TCX   

        แนวทางในการออกแบบเริ่มจากการศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับหลักการและเทคนิคของการออกแบบและการตัดเย็บในแนวคิด Zero Waste ให้สอดคล้องกระบวนการออกแบบและผลิตผ้าไหมทอมือย้อมสีธรรมชาติของกลุ่มทอผ้าชุมชนบ้านอ่างเตยคัดเลือกวัสดุท้องถิ่นของกลุ่มทอผ้าชุมชนบ้านอ่างเตย: เลือกใช้วัสดุที่ผลิตในท้องถิ่นของกลุ่มทอผ้าชุมชนบ้านอ่างเตย โดยเลือกใช้ผ้าทอมือที่มีการผลิตเป็นผืนผ้าในขนาดมาตรฐานที่ผลิตอยู่แล้ว และมีกระบวนการผลิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นน้ำและมีการสร้างเอกลักษณ์ที่โดดเด่น เช่น การย้อมสีธรรมชาติ และการผสมผสานเส้นไหมที่แตกต่าง  

ภาพร่างแฟชั่นโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รวิเทพ มุสิกะปาน

        ใช้กระบวนการออกแบบรูปแบบผลิตภัณฑ์แนวทาง Zero Waste: ใช้เทคนิคการออกแบบที่มีการใช้ผ้าโดยไม่ตัดและหรือกระจายของส่วนของผ้าที่เหลือใช้ให้มากที่สุด ตั้งแต่รูปร่างของผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการกำหนดแพทเทิร์นและลดขั้นตอนการตัดเย็บ มีถ่ายทอดองค์ความรู้และการฝึกอบรม: ส่งเสริมความรู้และทักษะให้กับสมาชิกกลุ่มทอผ้าชุมชนบ้านอ่างเตย ที่สามารถเป็นช่างที่เกี่ยวข้องกับการตัดเย็บ Zero Waste เพื่อเพิ่มความรู้และสามารถนำเสนอแนวทางใหม่ๆ ในกระบวนการผลิตแฟชั่น Zero Waste     หลังจากกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และผลิตต้นแบบร่วมกันกับกลุ่มทอผ้าชุมชนบ้านอ่างเตย ทางโครงการจัดกิจกรรมให้คำแนะนำกลุ่มเกษตรกรในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในกระบวนการผลิตต้นแบบ (Prototype) ผลิตภัณฑ์ไหมไทยผลิตภัณฑ์ในเชิงลึก โดยใช้แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แฟชั่น แบบ Zero Waste ที่เหมาะสมกับการออกแบบแฟชั่นจากวัสดุท้องถิ่น เพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์และสอดคล้องกับศักยภาพกระบวนการผลิตของกลุ่มทอผ้าชุมชนบ้านอ่างเตย โดยถ่ายทอดองค์ความรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Zero Waste

    

           

        โดยการอธิบายเกี่ยวกับหลักการและเทคนิคของการออกแบบและการตัดเย็บในแนวคิด Zero Waste ให้สอดคล้องกระบวนการออกแบบและผลิตผ้าไหมทอมือย้อมสีธรรมชาติของกลุ่มทอผ้าชุมชนบ้านอ่างเตย ให้มีการคัดเลือกวัสดุท้องถิ่นของกลุ่ม โดยเลือกใช้ผ้าทอมือที่มีการผลิตเป็นผืนผ้าในขนาดมาตรฐานที่ผลิตอยู่แล้ว และมีกระบวนการผลิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นน้ำและมีการสร้างเอกลักษณ์ที่โดดเด่น เช่น การย้อม
สีธรรมชาติ และการผสมผสานเส้นไหมที่แตกต่างกัน และใช้เทคนิคการออกแบบที่มีการใช้ผ้าโดยไม่ตัดและหรือกระจายของส่วนของผ้าที่เหลือใช้ให้มากที่สุด ตั้งแต่รูปร่างของผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการกำหนดแพทเทิร์นและลดขั้นตอนการตัดเย็บ รวมถึงการคำปรึกษากลุ่มเกษตรกรดำเนินการจัดทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบ สำหรับการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ในงานแสดงผลงาน/ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง โดยการนำเสนอตัวอย่างการถ่ายภาพแฟชั่นผลิตภัณฑ์ต้นแบบอย่างง่ายๆ เพื่อให้กลุ่มฯ สามารถนำไปต่อยอดในการนำเสนอสินค้าของกลุ่มฯ ต่อไป

ผลงานการออกแบบและการผลิตภัณฑ์สินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์ (Fashion Lifestyle) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทอผ้าบ้านอ่างเตย ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา 

 

บทสรุปจากการออกแบบและการผลิตภัณฑ์สินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์ (Fashion Lifestyle) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทอผ้าบ้านอ่างเตย ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่สอดคล้องกับความต้องการในอุตสาหกรรมแฟชั่นโลก สามารถสรุปแนวทางการพัฒนาได้ดังนี้

      การบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น: การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่น เช่น การใช้ลายละเอียดจากการทอผ้าท้องถิ่นหรือกระบวนการสร้างสรรค์ผ้าไทยที่มีเอกลักษณะเฉพาะ เช่น การย้อมสีธรรมชาติ การสร้างสรรค์ลวดลาย ขนาดของผืนผ้า ผ้าที่ทอด้วยเทคนิคพิเศษจากการทอผ้าไหมไทยที่ให้ลักษณะทางสีและลวดลายที่เฉพาะเจาะจง

     การใช้วัสดุท้องถิ่น: การเลือกใช้วัสดุท้องถิ่นที่มีคุณภาพและเป็นเอกลักษณ์ที่หลากหลาย ข้ามวัฒนธรรม
ที่สามารถเชื่อมโยงกระบวนการผลิตได้และยึดแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาอย่างยั่งยืนร่วมกัน

     การนำเสนอแนวทางในการออกแบบผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น: แนวทางในการออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นภูมิปัญญาไทยควรเน้นการรักษาความสมดุลระหว่างสไตล์และความทันสมัย โดยการปรับแต่งรูปทรงและลายละเอียดให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดโลก รวมถึงแนวทางของอุตสาหกรรมแฟชั่นในกระแสโลก ในที่นี้คือการออกแบบแฟชั่นเพื่อความยั่งยืน ในแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) 

     การสืบทอดภูมิปัญญาด้านการทอผ้า: การสืบทอดภูมิปัญญาด้านการทอผ้าเป็นขั้นตอนสำคัญใน
การพัฒนาผลิตภัณฑ์แฟชั่นภูมิปัญญาไทย  นอกจากดำเนินการในการสืบทอดภูมิปัญญาด้านการทอผ้า
ที่ครบวงจรตั้งแต่การปลูกหม่อน เลี้ยงไหม การทอผ้า  และพัฒนาลวดลายให้สอดคล้องกับความต้องการ
ตรงตามกระแสแฟชั่นโลกแล้วควรพัฒนาการใช้เทคนิคการทอผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยเพื่อผลิตผ้าที่มีคุณภาพและสามารถแข่งขันในตลาดนานาชาติได้

     การผสมผสานสไตล์และนวัตกรรม: การผสมผสานระหว่างภูมิปัญญาและนวัตกรรมเป็นสิ่งสำคัญใน
การสร้างผลิตภัณฑ์แฟชั่นที่น่าสนใจและทันสมัย การใช้เทคโนโลยีในการออกแบบ การตัดเย็บ และการผลิตสามารถเพิ่มความมั่นใจในคุณภาพและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ โดยยึดแนวทางความสามารถทางทักษะฝีมืองานหัตถกรรมดั้งเดิมเป็นหลัก ร่วมกับแนวคิดเชิงนวัตกรรมด้านการออกแบบเป็นหลักโดยไม่ยึดติดกับเทคโนโลยี

     ด้วยแนวทางเหล่านี้ การพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นภูมิปัญญาไทยจะสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทั้งด้านวัสดุ สไตล์ และนวัตกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการในอุตสาหกรรมแฟชั่นโลกอย่างยั่งยืนได้

แนะนำ หนังสือประจำหลักสูตร FASH SWU CCI (หลักสูตรแฟชั่น สิ่งทอและเครื่องตกแต่ง) หนังสือ แฟชั่นไทยร่วมสมัย และ หนังสือ พฤติกรรมผู้บริโภคแฟชั่น

แนะนำ หนังสือประจำหลักสูตร FASH SWU CCI (หลักสูตรแฟชั่น สิ่งทอและเครื่องตกแต่ง) 2 เรื่อง
อ่านฉบับเต็มออนไลน์ได้แล้ว 📣📕📘
กด link ที่ให้มา หรือแสกน QR code
1. หนังสือ แฟชั่นไทยร่วมสมัย
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รวิเทพ มุสิกะปาน
กดอ่าน 👇
 
 
หนังสือแฟชั่นไทยร่วมสมัย เป็นหนังสือที่รวบรวมเรื่องราวของการเปลี่ยนแปลงของแฟชั่นไทยร่วมสมัย โดยเริ่มจากช่วงเวลาที่สังคมไทยเข้าสู่ สมัยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตามแนวทางคิดทางเศรษฐกิจของฝ่ายโลกเสรีมีการวางแผนพัฒนาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตั้งแต่ พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา ที่เน้นการลงทุนและอุตสาหกรรม เรียกได้ว่าเป็นสังคมไทยที่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากตะวันตกมากยิ่งขึ้นและชัดเจน สอดคล้องกับการวางขอบเขตในการศึกษาวิเคราะห์ของผู้เขียนที่กําหนดไว้ คือเริ่มตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2516 เป็นต้นไปจนถึง ปี พ.ศ. 2555 ที่มีเนื้อหาคาดการณ์ได้จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ในหนังสือเล่มนี้ได้เรียบเรียงจากการวิเคราะห์จากผลงานวิจัยหลายเล่ม และรวบรวมค้นหาภาพประกอบจากหลายเพจออนไลน์ที่รวบรวมภาพถ่ายแฟชั่นในอดีต
2.หนังสือ พฤติกรรมผู้บริโภคแฟชั่น
โดย ดร. วรฐ ทรัพย์ศรีสัญจัย
กดอ่าน 👇
 
 
หนังสือเล่มนี้ใช้ประกอบการสอนในรายวิชา ฟสค 371 พฤติกรรมผู้บริโภคแฟชั่น (FTA 371 Fashion
Consumer Behavior) โดยมีการปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ ผู้เขียนได้รวบรวมเนื้อหา
ภาคทฤษฎี และเครื่องมือที่จำเป็นที่มีส่วนสำคัญสำหรับการนำไปใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคแฟชั่น
ในหลายด้าน เพื่อจุดประสงค์สำหรับผู้เรียนในสาขาแฟชั่นและสาขาที่เกี่ยวข้อง หรือผู้สนใจสามารถนำไปใช้งานได้จริง โดยเนื้อหาได้เรียบเรียงจากเอกสารอ้างอิงทั้งไทย และต่างประเทศ รวมถึงการนำข้อค้นพบทฤษฎีจากงานวิจัยของผู้เขียน
ลิขสิทธ์เป็นของ ผู้เขียนและ หลักสูตรแฟชั่น สิ่งทอและเครื่องตกแต่งแฟชั่น FASH SWU CCI 

BA. Fashion, Textiles and Accessories.
New fashion school of swu
College of Creative Industry
Srinakharinwirot University

Fashion Show FASH SWU CCI : BIFW2023

VDO Fashion Show FASH SWU CCI
ในงาน Bangkok International Fashion Week 2023 #bifw2023
ชมเบื้องหลังและเบื้องหน้า ผลงานแฟชั่นโชว์นิสิตชั้นปีที่ 3 FASH SWU CCI ในรายวิชา FASH SWU CCI ในรายวิชา Creative Fashion Construction,Creative Draping for Fashion Industry. และ Fashion Accessories Experiment on Construction.
จากแนวคิด “RAISED” by FASH24 นำเสนอผลงานครีเอทีฟจากมุมมองมากกว่าความงาม ด้วยแนวคิดการออกแบบโครงสร้างเสื้อผ้าในรูปแบบใหม่ สร้างสรรค์จากการใช้เทคนิคเดรป การทำโครงสร้าง 3 มิติ และเทคนิคจากการทดลองวัสดุที่เป็นนวัตกรรม ทั้งหมดนี้อยู่ในแนวคิดแฟชั่นเพื่อความยั่งยืน 🔥
VDO by @_rahat.b @manetiko_
Music by @apieny
6 Oct 2023
Visionary Stage
BA. Fashion, Textiles and Accessories.
New fashion school of swu
College of Creative Industry
Srinakharinwirot University

การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าไหมซิ่นลายแตงโม กรมหม่อนไหม ร่วมกับ แฟชั่น มศว CCI

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาไทย ❤️ ผลิตภัณฑ์ใหม่จากผ้าไหมซิ่นลายแตงโม 👉 จากการแปรรูปจากผ้าไหมซิ่นลายแตงโม ซึ่งเป็นลายพื้นถิ่นให้มีคุณภาพ ผ่านการรับรองมาตรฐานตรานกยูงพระราชทาน จากการบูรณาการการทำงานของ กรมหม่อนไหม กรมหม่อนไหม ร่วมกับ  หลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบแฟชั่น (MFA,Fashion Design Innovation) วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ FASH SWU CCI Graduate Showcase และกลุ่มทอผ้าไทยทรงดำ บ้านดอนมะนาว อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี โดย แม่ขวัญยืน ทองดอนจุย สำหรับผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าไหมซิ่นลายแตงโม ติดต่อคุณบุษตรี ทองเปลี่ยว กลุ่มทอผ้าไททรงดำบ้านดอนมะนาว โทรศัพท์ 09 3129 4689

สรุปโครงการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รวิเทพ มุสิกะปาน หัวหน้าโครงการวิจัยฯ

การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าไหมซิ่นลายแตงโม เป็นการพัฒนาผ้าไหมลายแตงโม ซึ่งเป็นลายพื้นถิ่นให้มีคุณภาพ ผ่านการรับรองมาตรฐานตรานกยูงพระราชทาน และต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผ้าไหมลายแตงโม ด้วยการออกแบบและแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์ให้มีความร่วมสมัย สร้างสรรค์โดยทีมคณาจารย์ แฟชั่น มศว ผศ.ดร.รวิเทพ มุสิกะปาน หัวหน้าโครงการวิจัยฯ , ดร.กรกลด คำสุข , ดร. อรัญ วานิชกร, ดร.นัดดาวดี บุญญะเดโช , ดร.กนกวรรณ ใจหาญ และ น.ส.นภัชญาพัฒนมหเจริญ, น.ส. ปิยะศรี แจ่มใส นิสิตปริญญาโท นวัตกรรมการออกแบบแฟชั่น ชั้นปีที่ 1 มศว ร่วมกับทีมกลุ่มกลุ่มอนุรักษ์ภูมิปัญญาหม่อนไหมและพัฒนาลวดลายผ้าไหม กรมหม่อนไหม

โครงการอนุรักษ์และพัฒนาผ้าไหมอัตลักษณ์พื้น ในการวิจัยการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าไหมซิ่นแตงโม โดยกรมหม่อนไหม ร่วมกับวิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งทาการศึกษาข้อมูลของกลุ่มทอผ้าไทยทรงดำ บ้านดอนมะนาว อาเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี พร้อม ทั้งวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อกาหนดแนวทางในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปผ้าไหมซิ่นลายแตงโมของ กลุ่มทอผ้าไทยทรงดา บ้านดอนมะนาว อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี และดำเนินการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ Lifestyle ประเภทต่างๆ ให้กับกลุ่มทอผ้าไทยทรงดำ บ้านดอนมะนาว อำเภอสองพี่น้อง จังหวัด สุพรรณบุรี โดยใช้แนวคิดในการผสมผสานความคิดสร้างสรรค์ (Creative) นวัตกรรม (Innovation) และ อัตลักษณ์พื้นถิ่นเข้าไว้ด้วยกัน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อออกแบบและพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมซิ่นลายแตงโม โดยใช้ทุนทางภูมิปัญญาวัฒนธรรมในการออกแบบ

2. สร้างผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าไหมซิ่นลายแตงโม และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร

3. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้กับเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ

โครงการอนุรักษ์และพัฒนาผ้าไหมอัตลักษณ์พื้น การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าไหมซิ่นแตงโม โดยกรมหม่อนไหม ร่วมกับวิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งทาการศึกษาข้อมูลของกลุ่มทอผ้าไทยทรงดา บ้านดอนมะนาว อาเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี พร้อมทั้งวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อกาหนดแนวทางในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปผ้าไหมซิ่นลายแตงโมของกลุ่มทอผ้าไทยทรงดา บ้านดอนมะนาว อาเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี และดาเนินการออกแบบผลิตภัณฑ์ Lifestyle ประเภทต่างๆ ให้กับกลุ่มทอผ้าไทยทรงดา บ้านดอนมะนาว อาเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้แนวคิดในการผสมผสานความคิดสร้างสรรค์ (Creative) นวัตกรรม (Innovation) และ อัตลักษณ์พื้นถิ่นเข้าไว้ด้วยกัน สรุปได้ว่า การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าไหมซิ่นแตงโม สามารถส่งเสริมให้เป็นไปในแนวทางการต่อยอดเชิงพาณิชย์ ได้ โดยสรุปได้ดังนี้

สรุปได้ว่า  การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าไหมซิ่นแตงโม สามารถส่งเสริมให้เป็นไปในแนวทางการต่อยอดเชิงพาณิชย์ ได้ โดยสรุปได้ดังนี้

การศึกษาตลาด: ศึกษาตลาดและผู้บริโภคที่เป็นเป้าหมายในการตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าไหมซิ่นแตงโม ในที่นี้ควรให้ความสาคัญกับตลาดที่มีความต้องการและยอมรับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เช่น ตลาดสินค้าผ้าไหมคุณภาพสูงในประเทศไทย และตลาดสินค้าแฟชั่นที่ต้องการรูปแบบความแปลกใหม่จากการผสมผสานรูปแบบเชิงวัฒนธรรม

การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์: การทาวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ กรมหม่อนไหม ควรส่งเสริมแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความน่าสนใจและมีความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์จากไหมอื่นๆ โดยใช้ผ้าไหม ซิ่นลายแตงโมอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ไทยทรงดาเป็นวัตถุดิบหลัก เช่น ผ้าไหมจากซิ่นทรงดาที่มีรูปลักษณ์เฉพาะ หรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้ผ้าไหมซิ่นแตงโมเป็นวัตถุดิบสาคัญ เช่น เสื้อผ้าที่ผลิตด้วยผ้าไหมซิ่นแตงโมผสมผสานกับผ้าชนิดอื่นๆ โดยส่งเสริมการวิจัยที่เน้นไปที่คุณภาพการทอผ้าไหมร่วมด้วย

การออกแบบผลิตภัณฑ์: ออกแบบผลิตภัณฑ์ควรมีความสวยงามและทันสมัย โดย แนวทาง โดยใช้แนวคิดในการผสมผสานความคิดสร้างสรรค์ (Creative) นวัตกรรม (Innovation) และอัตลักษณ์พื้นถิ่นเข้า ไว้ด้วยกัน ใช้แนวทางการออกแบบที่เน้นความร่วมสมัยและให้ตรงความต้องการของผู้บริโภคในกลุ่มเป้าหมายที่กาหนด เช่น การใช้รูปลักษณ์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์และเฉพาะตัว การนาเอาผ้าไหมซิ่นแตงโมมาประกอบกับวัสดุอื่น เพื่อเพิ่มความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ในผลิตภัณฑ์ โดยใช้เทรนด์แฟชั่นเป็นตัวกาหนด

การสร้างแบรนด์: สร้างแบรนด์ที่มีความสามารถในการสร้างความน่าสนใจและความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ในที่นี้ควรสร้างแบรนด์ที่เน้นไปที่เรื่องราวของผ้าลายแตงโมของชุมชนและกระบวนการผลิตวัตถุดิบในการสร้างสรรค์ แสดงให้เห็นการพัฒนาคุณภาพของผ้าไหมซิ่นแตงโมอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ไทยทรงดาจาก การส่งเสริมของกรมหม่อนไหม และเน้นความเป็นธรรมชาติ และเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าเพิ่ม เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ผ้าไหมซิ่นแตงโมที่ผ่านกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยผ่านกระบวนการคิดจากชุมชน

การตลาดและการโฆษณา: ใช้กลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมในการสร้างความต้องการและยอมรับของผลิตภัณฑ์ การใช้สื่อออนไลน์และโซเชียลมีเดียเพื่อสร้างการติดตามและสร้างความสนใจในผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าไหมซิ่นแตงโม การพัฒนาการผลิต: พัฒนากระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และความยืดหยุ่นสูงเพื่อให้สามารถผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าไหมซิ่นแตงโมได้ในปริมาณที่เพียงพอต่อการตลาดและการตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยให้ความความรู้เรื่องเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้งานง่ายและเหมาะสมกับชุมชน

การสร้างความยั่งยืน: ให้ความสาคัญกับการทาธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยให้ความรู้และความมั่นใจกับชุมชน ว่าการพัฒนาการผลิตผ้าไหมซิ่นแตงโม เป็นแนวทางการพัฒนาผิตภัณฑ์ ที่ยั่งยืนและสอดคล้องกับหลักการอนุรักษ์ธรรมชาติ การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าไหมซิ่นแตงโม ผ้าไหมอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ไทยทรงดาของจังหวัดสุพรรณบุรี ต้องให้ความสาคัญกับคุณภาพการผลิต มีการตลาดที่เหมาะสม และการบริหารจัดการที่ดี เพื่อสร้างความสาเร็จและความเจริญรุ่งเรืองในธุรกิจผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าไหมซิ่นแตงโมในแนวทางที่ยั่งยืน

First Year BA. Fashion FASH SWU CCI

Fashion Show: Blanc Project

Full Show 🤍
First Year BA. Fashion FASH SWU CCI
Fashion Show : Blanc Project
ผลงานแฟชั่น โครงการ BLANC เป็นงานแสดงแนวคิดการออกแบบแฟชั่นที่แสดงศักยภาพการสร้างสรรค์อย่างไร้ขีดจำกัดจากเทคนิคเชิงพื้นฐาน ในระดับ ชั้นปีที่1 FASH 25 (Fashion at SWU House) หลักสูตร BA. Fashion , Textiles and Accessories.
 
BLANC Project is a showcase of the creative fashion design ideas by the unlimited potential of first-year students.
 
BA. Fashion, Textiles and Accessories.
New fashion school of swu
College of creative industry
Srinakharinwirot Universit

FASH SWU X Jim Thompson

FASH X Jim Thompson เสื้อฮาวายสุดพิเศษ 1 ตัว 1 ลาย ไม่ซ้ำกัน จาก ผลงานออกแบบของนิสิตชั้นปีที่ 2 หลักสูตรแฟชั่น สิ่งทอ และเครื่องตกแต่ง วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยใช้ผ้าจาก Jim Thompson ในงานบ้านและสวนแฟร์ 2020 โปรเจ็คนี้เป็นการทดลองออกแบบสินค้าแฟชั่นจากวัสดุใหม่ๆและการนำเสนอ ในรายวิชา Creative Materials and Technical Practice for Fashion. ทั้งนี้เพื่อให้นิสิตนำผลงานการออกแบบมาทดลองนำเสนอสินค้าแฟชั่นสู่ผู้บริโภคจริง
BA. Fashion, Textiles and Accessories.
New fashion school of swu
College of Creative Industry SWU
Srinakharinwirot University

Key great opt for | Virtual data rooms

Virtual Data Rooms addressing a product in the unification regarding web-content handle system factors and document management system factors. So , quite simply, Virtual Information Rooms are the storage filled with certain personal corporate files and docs stored in an electronic digital format and get a distinct structure. By the way, the particular VDR commonly exists as the website or additional program to install. The important thing feature of the VDR is a ‘fireproof safe’ principle as it has an improved level of safeguard access-transfer data procedure whilst interacting with the external users. Traditional Files Room is mostly one or several premises filled with daily news documents with a certain browsing schedule. The definition of VDR has been described above in the document. The key difference between these types of terms of which VDR allows to work with typically the documents by every place of the world. You should definitely rent together with servicing expenditures, in the very first case, we could highlight the advantages of the very careful monitoring of the TDR from the authorized employees that positioned at the service inside whilst considering the VDR , so we have the ready-made security technologies to make use of and further allowing of personal certified access. Despite the fact that safety is often a provider responsibility, the internal cooperation on all of the safety-related issues is indispensable. In the area of the particular electronic records, we have simply no concerns it is more convenient together with user-friendly as compared to using old-fashioned documents safe-keeping with documents documents inside of.

Why do we need to makes use of the VDR?

First and foremost, the particular VDR originated as an alternative option to the Traditional Files Rooms in due diligence procedures throughout blend and exchange dealings. Therefore, the VDR addressed a challenge with time, price, and accessibility to the files. Currently, the particular Virtual Files Rooms can be accompanying the companies’ task and other locations including furnishing the data to the partners associated with investment resources and even issuing of advancement drugs certificates. In this regard, typically the VDR signifies an excellent repository of these data, which provides comfortable access for information users who can be a huge number of miles away from each other. Perhaps, you may question who can be the user in the VDR. Typically the VDR work extremely well in almost any situation if the company is necessary to provide several persons together with authorized access to confidential information. The good examples are the subsequent:

  • the analysis of the corporate reporting
  • the introduction of the records for papers
  • within the auditing means plus compliance handle
  • the operations during the first public providing (IPO)
  • merge and the better dealings
  • financial distress and reorganization, rearrangement, reshuffling proceedings

    We ought to add that the user could get use of view together with download documents only after the authorization from the VDR manager. Besides, VDR https://datarooms.sg/ will be developed plus served by specialized VDR providers.