ผ้าไหมแนวทางใหม่ ในวิถีนิวนอร์มัล (New Normal) FASHION VDO : VIRTUAL RUTINE

ผ้าไหมแนวทางใหม่ ในวิถีนิวนอร์มัล (New Normal) เมื่อเราจะอยู่กับผ้าไทยได้ทุกวัน และผ้าไทยเหมาะกับทุกคน FASHION VIDEO : VIETUAL ROUTINES
วีดีโอแฟชั่นที่นำเสนอให้เห็นถึงคนในยุคนี้ ที่ผ่านช่วงสถาณการณ์ การแพร่ระบาดของโรคโควิด โดยผ่านตัวละคร ชายหญิง ยุคใหม่ 2 คน ที่ต้องดำเนินชีวิตไปในทุกๆวัน พร้อมกับการทำงานและต้องอยู่ในที่พักอาศัยของตัวเองเป็นส่วนใหญ่ เค้าจึงสร้างสรรค์กิจกรรมของตัวให้น่าตื่นเต้นจากสิ่งรอบตัวที่เค้าใช้ผ้าไทยเป็นส่วนประกอบหลัก แสดงใช้ตัวเองไปเป็นสิ่งของต่าง ที่ทำให้เค้าไม่จำเจและเกิดแรงบัลดาลใจใหม่ๆได้ในแต่ล่ะวันที่เค้าสองคนต้องอยู่ร่วมกัน

ผลงานวิจัย การผสมผสานเส้นไหมผสมวัสดุอื่นจากการทอผ้าทอมือ จากการทอผสม ไหมไทย ไหมลืบ ไหมแลง ไหมโรงงาน ไหมคิบิโซ่ ไหมอีรี่ กัญชง ฝ้าย มาเป็นผ้าไหมทอมือผ้าไหมแนวทางใหม่ ในวิถีนิวนอร์มัล (New Normal) ใน โครงการ ไหมไทยสร้างสรรค์ 2020: การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมผสมเส้นใยอื่น (Creative Thai Silk 2020: Products development from Combination of silk yarn with other materials) โดย กรมหม่อนไหม ร่วมกับ หลักสูตรแฟชั่น สิ่งทอและเครื่องตกแต่ง วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Creative Thai Silk 2020: Products development from Combination of silk yarn with other materials Cooperation between the Queen Sirikit Department of Sericulture and College of Creative Industry, Srinakharinwirot University
This project aims to study and develop the weaving process of silk yarn and other fiber, to study the properties of the prototype fabric in order to contribute to value creation, product variations and product differentiation for the products developed from Thai silk by using textile technologies and innovations along with creative design.
By inserting other materials during the weaving process, the product structured were designed and developed and the weaving experiments of more than 30 designs were carried out. Five suitable designs were then selected for creating the new possibilities in restoring and reviving Thai wisdom into a new lifestyle in the New Normal era by developing the fashion and lifestyle products of different categories for a new way of life.
The creation of fashion lifestyle products was carried out by 6 researchers, namely Asst. Prof. Dr. Ravitep Musikapan; Dr. Koraklod Kumsook; Dr. Naddawadee Boonyadacho, College of Creative Industry, Srinakharinwirot University; Ms. Patararin Pongprasit, the founder of the VINN PATARARIN brand; Ms. Phraeva Rujinarong from Termtem Studio, and Mr. Suradet Teerakul, Industrial Products Designer, The Queen Sirikit Department of Sericulture. The exhibition of these products was presented in the placement and the form of digital fashion video.

ผ้าไหมแนวทางใหม่ ในวิถีนิวนอร์มัล (New Normal) โครงการ ไหมไทยสร้างสรรค์ 2020 EP.2

ผ้าไหมแนวทางใหม่ ในวิถีนิวนอร์มัล (New Normal) เมื่อเราจะอยู่กับผ้าไทยได้ทุกวัน ตอนที่ 2 (EP.2) FINAL PRODUCT & FASHION VIDEO (VIETUAL ROUTINES)

ผลงานวิจัย การผสมผสานเส้นไหมผสมวัสดุอื่นจากการทอผ้าทอมือ จากการทอผสม ไหมไทย ไหมลืบ ไหมแลง ไหมโรงงาน ไหมคิบิโซ่ ไหมอีรี่ กัญชง ฝ้าย มาเป็นผ้าไหมทอมือผ้าไหมแนวทางใหม่ ในวิถีนิวนอร์มัล (New Normal) ใน โครงการ ไหมไทยสร้างสรรค์ 2020: การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมผสมเส้นใยอื่น (Creative Thai Silk 2020: Products development from Combination of silk yarn with other materials) โดย กรมหม่อนไหม ร่วมกับ หลักสูตรแฟชั่น สิ่งทอและเครื่องตกแต่ง วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Creative Thai Silk 2020: Products development from Combination of silk yarn with other materials Cooperation between the Queen Sirikit Department of Sericulture and College of Creative Industry, Srinakharinwirot University
This project aims to study and develop the weaving process of silk yarn and other fiber, to study the properties of the prototype fabric in order to contribute to value creation, product variations and product differentiation for the products developed from Thai silk by using textile technologies and innovations along with creative design.
By inserting other materials during the weaving process, the product structured were designed and developed and the weaving experiments of more than 30 designs were carried out. Five suitable designs were then selected for creating the new possibilities in restoring and reviving Thai wisdom into a new lifestyle in the New Normal era by developing the fashion and lifestyle products of different categories for a new way of life.
The creation of fashion lifestyle products was carried out by 6 researchers, namely Asst. Prof. Dr. Ravitep Musikapan; Dr. Koraklod Kumsook; Dr. Naddawadee Boonyadacho, College of Creative Industry, Srinakharinwirot University; Ms. Patararin Pongprasit, the founder of the VINN PATARARIN brand; Ms. Phraeva Rujinarong from Termtem Studio, and Mr. Suradet Teerakul, Industrial Products Designer, The Queen Sirikit Department of Sericulture. The exhibition of these products was presented in the placement and the form of digital fashion video.

ผ้าไหมแนวทางใหม่ ในวิถีนิวนอร์มัล (New Normal) โครงการ ไหมไทยสร้างสรรค์ 2020 EP.1

ผ้าไหมแนวทางใหม่ ในวิถีนิวนอร์มัล (New Normal) ตอนที่ 1 (EP.1) RESEARCH & DEVELOPMENT

ผลงานวิจัย การผสมผสานเส้นไหมผสมวัสดุอื่นจากการทอผ้าทอมือ จากการทอผสม ไหมไทย ไหมลืบ ไหมแลง ไหมโรงงาน ไหมคิบิโซ่ ไหมอีรี่ กัญชง ฝ้าย มาเป็นผ้าไหมทอมือผ้าไหมแนวทางใหม่ ในวิถีนิวนอร์มัล (New Normal) ใน โครงการ ไหมไทยสร้างสรรค์ 2020: การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมผสมเส้นใยอื่น (Creative Thai Silk 2020: Products development from Combination of silk yarn with other materials) โดย กรมหม่อนไหม ร่วมกับ หลักสูตรแฟชั่น สิ่งทอและเครื่องตกแต่ง วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Creative Thai Silk 2020: Products development from Combination of silk yarn with other materials Cooperation between the Queen Sirikit Department of Sericulture and College of Creative Industry, Srinakharinwirot University
This project aims to study and develop the weaving process of silk yarn and other fiber, to study the properties of the prototype fabric in order to contribute to value creation, product variations and product differentiation for the products developed from Thai silk by using textile technologies and innovations along with creative design.
By inserting other materials during the weaving process, the product structured were designed and developed and the weaving experiments of more than 30 designs were carried out. Five suitable designs were then selected for creating the new possibilities in restoring and reviving Thai wisdom into a new lifestyle in the New Normal era by developing the fashion and lifestyle products of different categories for a new way of life.
The creation of fashion lifestyle products was carried out by 6 researchers, namely Asst. Prof. Dr. Ravitep Musikapan; Dr. Koraklod Kumsook; Dr. Naddawadee Boonyadacho, College of Creative Industry, Srinakharinwirot University; Ms. Patararin Pongprasit, the founder of the VINN PATARARIN brand; Ms. Phraeva Rujinarong from Termtem Studio, and Mr. Suradet Teerakul, Industrial Products Designer, The Queen Sirikit Department of Sericulture. The exhibition of these products was presented in the placement and the form of digital fashion video.

แนะนำ TCAS64 PORTFOLIO แฟชั่น มศว CCI การสมัครเข้าเรียน แฟชั่น มศว CCI ประจำปีการศึกษา 2564

แนะนำ TCAS64 PORTFOLIO แฟชั่น มศว CCI การสมัครเข้าเรียน แฟชั่น มศว CCI ประจำปีการศึกษา 2564 การเตรียมตัวทำ portfolio เพื่อยื่นเข้าศึกษา และการเตรียมตัวเพื่อรับการสัมภาษณ์ สำหรับการเข้าศึกษา แฟชั่น มศว ในรุ่นที่ 24 หรือ FASH24 สู้ๆจะเด็กๆ แล้วพบกัน เข้าดูรายละเอียดการสมัครสอบในเอกสารรับสมัคร ได้ที่ โครงการผู้มีทักษะพิเศษด้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หน้าที่ 76-77 หลักสูตรแฟชั่น สิ่งทอและเครื่องตกแต่ง ใน link นี้ https://admission.swu.ac.th/file_staf… #แฟชั่น มศว cci #แฟชั่น มศว #fashswu #แฟชั่น #fashswucci

FASH SWU X Jim Thompson

FASH X Jim Thompson เสื้อฮาวายสุดพิเศษ 1 ตัว 1 ลาย ไม่ซ้ำกัน จาก ผลงานออกแบบของนิสิตชั้นปีที่ 2 หลักสูตรแฟชั่น สิ่งทอ และเครื่องตกแต่ง วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยใช้ผ้าจาก Jim Thompson ในงานบ้านและสวนแฟร์ 2020 โปรเจ็คนี้เป็นการทดลองออกแบบสินค้าแฟชั่นจากวัสดุใหม่ๆและการนำเสนอ ในรายวิชา Creative Materials and Technical Practice for Fashion. ทั้งนี้เพื่อให้นิสิตนำผลงานการออกแบบมาทดลองนำเสนอสินค้าแฟชั่นสู่ผู้บริโภคจริง
BA. Fashion, Textiles and Accessories.
New fashion school of swu
College of Creative Industry SWU
Srinakharinwirot University

SATANY: แบรนด์ Accessories สำหรับสาว Artistic fashion ในแบบฉบับร้ายปนซนนิดๆ

มาสนุกกับการแต่งตัวในทุกๆ วัน กับแบรนด์สุดน่ารักน่าสนใจที่จะทำให้ชีวิตวัยสาวของคุณสดใสขึ้นอีกครั้ง

SATANY(เซทานี่) มาจากคำว่า SATAN+LADY เป็นตัวแทนของหญิงสาวที่มีความร้ายนิดๆ ซุกซนหน่อยๆ มีทั้งความกล้าหาญและอ่อนหวาน น่ารักสดใสดูอ่อนเยาว์แบบฉบับสาวเอเชีย รักและชื่นชอบการท่องเที่ยวไปในโลกกว้าง สาวขี้เล่นนักเดินทางอย่างสาว SATANY จึงเหมาะสมกับสโลแกน “Artistic fashion” ซึ่งเป็นคอนเซ็ปในการสร้างสรรค์งานในแต่ละคอลเลคชั่น ก่อตั้งโดย ดร.นัดดาวดี บุญญะเดโช ดีไซเนอร์และผู้ก่อตั้งแบรนด์ SATANY(เซทานี่) ผู้ชื่นชอบในงานเครื่องหนัง เครื่องตกแต่งแฟชั่น และงานดีไซน์ สาวๆ SATANY จะได้สัมผัสงานศิลปะต่างๆ ถ่ายทอดสู่งานออกแบบแฟชั่นประเภทกระเป๋า รองเท้า การนำทุนทางวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม หัตถศิลป์ทอผ้า ลวดลายปูนปั้น มาผสมผสานใส่ความสนุกสนาน สีสันที่ดึงดูดสายตา ออกมาเป็นงานแฟชั่นที่แปลกและไม่เหมือนใคร มีความโดดเด่น แต่ลงตัว การผสมผสานงานศิลปะสู่งานแฟชั่นสำหรับหญิงสาวยุคใหม่ งานปักลวดลายบนแผ่นหนังที่มีสีสันสดใสกลายเป็นจุดเด่นและเป็นที่จดจำของสาวหลายๆ คน

คอลเลคชั่น Rose of Notre Dame de Paris แรงบันดาลใจจาก มหาวิหารน็อทร์-ดาม ศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ของผู้ศรัทธาทั้งด้านศาสนาและศิลปะ เสน่ห์และความน่าหลงใหลของ “Rose window” หน้าต่างกุหลาบเอกลักษณ์ความงามของสถาปัตยกรรม ถูกนำมาปรับแต่งในแบบฉบับสาว SATANY เป็นการนำทุนทางวัฒนธรรมตะวันตกผสมผสานสีสันรูปแบบสาวชาวเอเชีย ถ่ายทอดผ่านงานฝีมือช่างไทยท้องถิ่นสู่งานออกแบบแฟชั่นที่มีเรื่องราวมากมายให้น่าจดจำ มหาวิหารน็อทร์-ดาม ศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ของผู้ศรัทธาทั้งด้านศาสนาและศิลปะ ณ กรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส ดีไซน์แตกต่างด้วยรูปทรงประตูทางเข้าโบส์ทรงโค้งแหลมสไตล์กอทิกกลับด้าน ผลิตด้วยหนังวัวแท้คุณภาพดี ตกแต่งด้วยเทคโนโลยีการปักลายบนพื้นหนังจากสีสันและลวดลายกราฟฟิกที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการลดทอนลวดลายประติมากรรมหน้าต่างกระจกสีโบราณ Rose window เอกลักษณ์โดดเด่น สง่างาม ไหมปักหลากสีที่ให้ความรู้สึกสนุกสนาน สดใส ตกแต่งพู่สไตล์โบฮีเมียนผสมผสานความเป็นตะวันตกและเอเชียได้อย่างลงตัว เหมาะสำหรับสาวขี้เล่นนักเดินทาง แต่เป็นที่น่าเสียดายที่สถานที่จริงตอนนี้เสียหายจากเหตุไฟไหม้ที่ผ่านมา และหวังว่าจะกลับมาสวยงามดังเดิมในเร็ววัน 

ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกใบนี้ คือ ความมหัศจรรย์ ทั้งความแตกต่าง ความไม่สมบูรณ์แบบ ความธรรมดา อยู่ที่มุมมองและการสื่อสารอย่างไรให้มหัศจรรย์ในแบบของตัวเราเอง
ติดตามผลงานสนุกๆ ของสาว Satany ได้ทาง
Line@ ID : @Satany
FB : SatanyOfficial
IG : SatanyOfficial

สุดยอดผ้าไหมบาติก ผลงานรางวัลวิจัยดี งานประชุมวิชาการหม่อนไหม ประจำปี พ.ศ. 2562

สุดยอดผ้าไหมบาติก ผลงานรางวัลวิจัยดี งานประชุมวิชาการหม่อนไหม ประจำปี พ.ศ. 2562

สุดยอดไหมบาติก เมื่อการสร้างสรรค์ผลงานผ้าไหมบาติก ได้รับผลงานรางวัลวิจัยดี งานประชุมวิชาการหม่อนไหม ประจำปี พ.ศ. 2562  ในวันที่ 5 – 7 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา เรามาดูว่าผลงานการสร้างสรรค์ผลงานผ้าไหมบาติก ในผลงานวิจัยชิ้นนี้มีความน่าสนใจอย่างไร

ผลงานวิจัยโครงการวิจัยและพัฒนาลวดลายผ้าบาติกไหมไทยภาคใต้ เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์แฟชั่นไหมไทยร่วมสมัย (Development of “Batik” Pattern and technique in Southern Thai silk  for Creative Contemporary Thai Silk Fashion) เป็นโครการวิจัยที่เป็นการร่วมมือของ กรมหม่อนไหม กับ วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์  และสถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มศว ของ สุระเดช ธีรกุล  และทีมวิจัยสำนักวิจัยและพัฒนาหม่อนไหม กรมหม่อนไหม ร่วมกับ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รวิเทพ  มุสิกะปาน ดร. กรกลด คำสุข ทีมคณาจารย์หลักสูตรแฟชั่น สิ่งทอและเครื่องตกแต่ง วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มศว   ที่เน้นงานวิจัยต่อยอดนวัตกรรมตอบโจทย์ความต้องการของตลาด โดยมีการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมบาติกต้นแบบ ใน 4 กลุ่มช่างฝีมือที่เข้าร่วมโครงการ ดาหลาบาติก  ชัยบาติก กลุ่มมัดย้อมสีธรรมชาติ บ้านคีรีวง และกลุ่มผ้าบาติกบ้านคอเอน

จุดประสงค์เพื่อสร้างแนวทางและวิธีการในการพัฒนาลวดลายผ้าบาติกไหมไทยสำหรับผลิตภัณฑ์แฟชั่นไหมไทย ที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจด้านหม่อนไหม และเป็นโอกาสแลกเปลี่ยนความคิด มุมมอง และเพิ่มพูนความรู้ความสามารถ ของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเทคนิคบาติก  ผู้เชี่ยวชาญ และนักศึกษา เกิดเป็นเครือข่ายของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานทดลองในครั้งนี้  

ที่มีแนวทางร่วมกันดังนี้   แนวทางในการพัฒนาลวดลายผ้าบาติกไหมไทยสำหรับผลิตภัณฑ์แฟชั่นไหมไทย  ควรมีการปรับรูปแบบของลวดลายให้มีความร่วมสมัยมากขึ้น อาจมีการลดทอนรายละเอียดจากลวดลายเอกลักษณ์เดิมลง คงไว้ซึ่งลักษณะของลวดลายที่เกิดจากเทคนิคการวาดและพิมพ์เทียน เลือกใช้กลุ่มและสัดส่วนสีที่ลงตัว สอดคล้องกับ แนวคิดจากกระแสแนวโน้มแฟชั่นสากล ประยุกต์ให้มีความสอดคล้องกับความสามารถในการผลิตผ้าไหมบาติกของแต่ละกลุ่ม ใช้ความน่าสนใจโดยการมีเรื่องราวแรงบันดาลใจมาจากท้องถิ่น สิ่งแวดล้อมใกล้ตัว  ควรมีแนวคิดเชื่อมโยง การใช้ชีวิต รูปแบบของการพัฒนาผลิตภัณฑ์มีความเป็นชนบทแก่ชุมชนเมือง การยอมรับในสินค้าจากชุมชน สินค้าที่มีความเป็นหัตถกรรม สู่ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ของคนเมือง สร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์แฟชั่นที่เน้นไปในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการมาก ออกแนวลำลอง (casual style) มีลักษณะของผ้าไหมบาติกที่มีความพลิ้วไหว ดูมีความเคลื่อนไหว (movement) มีชีวิตชีวา

กลุ่มผ้าบาติกบ้านคอเอน ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  กลุ่มผู้ผลิตผ้าบาติก ซึ่งมีประสบการณ์มานานกว่า 10 ปี เน้นสร้างสรรค์ผืนผ้าด้วยการเขียนเทียน ลวดลายส่วนใหญ่ได้รับแรงบันดาลมาจากธรรมชาติและทะเลภูเก็ต พัฒนาลวดลายผ้าไหมบาติก

กลุ่มชัยบาติก ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต กลุ่มผู้ผลิตผ้าบาติก ซึ่งมีหัวหน้ากลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตผ้าบาติกที่โดดเด่นด้วยลวดลายแนวนามธรรม (Abstract) ที่ซับซ้อน ผสมผสานหลากหลายเทคนิคในการสร้างสรรค์ผ้าผืนที่มีความเป็นงานศิลปะ รวมไปถึงการผลิตผ้าบาติกด้วยเทคนิคการพิมพ์เทียนที่เน้นใช้ไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เชิงการค้า พัฒนาลวดลายผ้าไหมบาติกลาย abstract

กลุ่มดาหลาบาติก ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ผลิตผ้าบาติกที่โดดเด่นด้วยลวดลายดั้งเดิมที่มีกลิ่นอายความเป็นมลายูผสมกับไทยไปจนถึงลวดลายประยุกต์ที่มีความร่วมสมัย โดยเทคนิคการพิมพ์เทียนด้วยแม่พิมพ์โลหะ พัฒนาลวดลายผ้าไหมบาติก ลายประแจจีน และลายดอกจอก

กลุ่มมัดย้อมสีธรรมชาติ บ้านคีรีวง ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มผู้ผลิตผ้าบาติกด้วยสีธรรมชาติ สร้างสรรค์ลวดลายด้วยการเขียนเทียนที่มีแรงบันดาลใจมาจากพืชพรรณธรรมชาติและความอุดมสมบูรณ์ของบ้านคีรีวง ย้อมสีและลงสีด้วยสีธรรมชาติที่ใช้วัตถุดิบจากพืชพรรณในท้องถิ่น พัฒนาลวดลายผ้าไหมบาติก ย้อมด้วยสีธรรมชาติ ได้แก่ สีเขียวจากใบหูกวาง สีน้ำตาลจากแกนหลุมพอ และสีเทาจากเปลือกเงาะ

ลักษณะของงานบาติกในรูปแบบการเขียนเทียน (Wax writing) เอกลักษณ์ที่เกิดขึ้นจะขึ้นอยู่กับผู้คิดค้นลายหรือผู้วาดลาย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้มีความสามารถในการวาดภาพ และเป็นผู้นำกลุ่ม ลวดลายในการเขียนผ้าบาติกนั้นจะแสดงถึงเอกลักษณ์ของศิลปินผู้วาด แสดงถึงความเป็นตัวตน (Self-expression) สื่อผ่านชิ้นงานนั้นๆ ในรูปแบบของเส้นสายที่ใช้ เทคนิคในการวาด การใช้สี มีการลดทอนรายละเอียด (Simplify) จากแรงบันดาลจากสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น ไปจนถึงลักษณะการวาดภาพเชิงนามธรรม (abstract) จากจินตนาการของผู้วาดเอง ต้องมีการปรับแบบร่างการออกแบบไปตามทักษะและเอกลักษณ์ของแต่ละกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมบาติกกรณีศึกษา

ลักษณะของงานบาติกแบบพิมพ์เทียน (Cap printing) ขึ้นกับผู้ออกแบบลวดลายและวิธีในการผลิตแม่พิมพ์ซึ่งเป็นแม่พิมพ์จากพลาสติก และโลหะ ลวดลายการพิมพ์เทียนของแต่ละกลุ่มจะมีแบบอย่างเฉพาะตัว (style) แตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น ลวดลายที่พัฒนามาจากลวดลายดั้งเดิมมาจัดวางเรียงตัวเป็นลายแบบใหม่ หรือได้แรงบัลดาลใจมาจากลวดลายโบราณ ไปจนถึงการสร้างสรรค์ลวดลายใหม่ตามสมัยนิยม

ผ้าไหมบาติกสีธรรมชาติจากกลุ่มมัดย้อมสีธรรมชาติ บ้านคีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราช สร้างความแตกต่างจากกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมบาติกอื่นๆ ด้วยการย้อมผ้าไหมบาติกด้วยสีธรรมชาติที่มีเฉดสีที่นุ่มนวล เช่น สีเขียวจากใบหูกวาง สีน้ำตาลจากแกนหลุมพอ สีเทาจากเปลือกเงาะและฝักสะตอ สีส้มและสีชมพูจากใบมังคุด เป็นต้น จากวัตถุดิบภายในท้องถิ่น เป็นการสร้างเรื่องราว (Story) สร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมบาติกของกลุ่ม และเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมบาติก ควรมีการส่งเสริมและพัฒนาอยู่เสมอ เพื่อการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน เพื่อให้สอดคล้องกับเทรนด์ของโลก พฤติกรรมในการดำเนินชีวิตของคนที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่หยุดนิ่ง ประกอบการทำการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมบาติกที่ทันยุคทันเหตุการณ์ สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้ยังเป็นการคงไว้ซึ่งภูมิปัญญาการทำผ้าบาติกของท้องถิ่นที่สืบทอดต่อกันมา

คณะผู้ดำเนินงาน/ผู้วิจัยหวังว่า ความรู้ที่ได้จากการดำเนินโครงการนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ เป็นข้อมูลประกอบ เป็นแนวทาง และเป็นรูปแบบวิธีการหนึ่งในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ไหมไทยต่อไปในอนาคต

นางสาวศิริพร บุญชู อธิบดีกรมหม่อนไหม เปิดเผยว่า ที่ผ่านมากรมหม่อนไหมรับผิดชอบงานการพัฒนาหม่อนไหมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำแบบครบวงจร การพัฒนางานวิจัยจึงเป็นเรื่องตั้งแต่วัตถุดิบต้นน้ำ ไปจนถึงการแปรรูปที่เป็นปลายน้ำ ซึ่งลักษณะของงานวิจัยของไหมที่ออกมาจะต้องเป็นงานวิจัยที่ตอบโจทย์ ทั้งในเรื่องการแก้ปัญหาของเกษตร ผลผลิต การแปรรูป การตลาด และเน้นการต่อยอดนวัตกรรมเพื่อที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าหม่อนไหม นอกจากนี้แล้วในปัจจุบันงานวิจัยจะให้ความสำคัญเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมอีกด้วย คณะกรรมการ จึงคัดเลือกมอบรางวัล ผลงานวิจัยในระดับดี

โครงการวิจัยที่เกิดจากการร่วมมือของทั้ง 2 หน่วยงานในครั้งนี้ เกิดจากการ MOU ระหว่างกันของ กรมหม่อนไหม และ วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ในด้านต่างๆ รวมถึงการทำงานวิจัยและการเรียนการสอน  ที่เน้นอยู่ในระดับปริญญาตรี หลักสูตร แฟชั่น สิ่งทอและเครื่องตกแต่ง และระดับปริญญาโท หลักสูตร นวัตกรรมการออกแบบ

Share on facebook
Share on twitter
Share on email
Share on print