การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าไหมซิ่นลายแตงโม กรมหม่อนไหม ร่วมกับ แฟชั่น มศว CCI

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาไทย ❤️ ผลิตภัณฑ์ใหม่จากผ้าไหมซิ่นลายแตงโม 👉 จากการแปรรูปจากผ้าไหมซิ่นลายแตงโม ซึ่งเป็นลายพื้นถิ่นให้มีคุณภาพ ผ่านการรับรองมาตรฐานตรานกยูงพระราชทาน จากการบูรณาการการทำงานของ กรมหม่อนไหม กรมหม่อนไหม ร่วมกับ  หลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบแฟชั่น (MFA,Fashion Design Innovation) วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ FASH SWU CCI Graduate Showcase และกลุ่มทอผ้าไทยทรงดำ บ้านดอนมะนาว อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี โดย แม่ขวัญยืน ทองดอนจุย สำหรับผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าไหมซิ่นลายแตงโม ติดต่อคุณบุษตรี ทองเปลี่ยว กลุ่มทอผ้าไททรงดำบ้านดอนมะนาว โทรศัพท์ 09 3129 4689

สรุปโครงการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รวิเทพ มุสิกะปาน หัวหน้าโครงการวิจัยฯ

การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าไหมซิ่นลายแตงโม เป็นการพัฒนาผ้าไหมลายแตงโม ซึ่งเป็นลายพื้นถิ่นให้มีคุณภาพ ผ่านการรับรองมาตรฐานตรานกยูงพระราชทาน และต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผ้าไหมลายแตงโม ด้วยการออกแบบและแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์ให้มีความร่วมสมัย สร้างสรรค์โดยทีมคณาจารย์ แฟชั่น มศว ผศ.ดร.รวิเทพ มุสิกะปาน หัวหน้าโครงการวิจัยฯ , ดร.กรกลด คำสุข , ดร. อรัญ วานิชกร, ดร.นัดดาวดี บุญญะเดโช , ดร.กนกวรรณ ใจหาญ และ น.ส.นภัชญาพัฒนมหเจริญ, น.ส. ปิยะศรี แจ่มใส นิสิตปริญญาโท นวัตกรรมการออกแบบแฟชั่น ชั้นปีที่ 1 มศว ร่วมกับทีมกลุ่มกลุ่มอนุรักษ์ภูมิปัญญาหม่อนไหมและพัฒนาลวดลายผ้าไหม กรมหม่อนไหม

โครงการอนุรักษ์และพัฒนาผ้าไหมอัตลักษณ์พื้น ในการวิจัยการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าไหมซิ่นแตงโม โดยกรมหม่อนไหม ร่วมกับวิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งทาการศึกษาข้อมูลของกลุ่มทอผ้าไทยทรงดำ บ้านดอนมะนาว อาเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี พร้อม ทั้งวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อกาหนดแนวทางในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปผ้าไหมซิ่นลายแตงโมของ กลุ่มทอผ้าไทยทรงดา บ้านดอนมะนาว อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี และดำเนินการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ Lifestyle ประเภทต่างๆ ให้กับกลุ่มทอผ้าไทยทรงดำ บ้านดอนมะนาว อำเภอสองพี่น้อง จังหวัด สุพรรณบุรี โดยใช้แนวคิดในการผสมผสานความคิดสร้างสรรค์ (Creative) นวัตกรรม (Innovation) และ อัตลักษณ์พื้นถิ่นเข้าไว้ด้วยกัน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อออกแบบและพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมซิ่นลายแตงโม โดยใช้ทุนทางภูมิปัญญาวัฒนธรรมในการออกแบบ

2. สร้างผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าไหมซิ่นลายแตงโม และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร

3. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้กับเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ

โครงการอนุรักษ์และพัฒนาผ้าไหมอัตลักษณ์พื้น การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าไหมซิ่นแตงโม โดยกรมหม่อนไหม ร่วมกับวิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งทาการศึกษาข้อมูลของกลุ่มทอผ้าไทยทรงดา บ้านดอนมะนาว อาเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี พร้อมทั้งวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อกาหนดแนวทางในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปผ้าไหมซิ่นลายแตงโมของกลุ่มทอผ้าไทยทรงดา บ้านดอนมะนาว อาเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี และดาเนินการออกแบบผลิตภัณฑ์ Lifestyle ประเภทต่างๆ ให้กับกลุ่มทอผ้าไทยทรงดา บ้านดอนมะนาว อาเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้แนวคิดในการผสมผสานความคิดสร้างสรรค์ (Creative) นวัตกรรม (Innovation) และ อัตลักษณ์พื้นถิ่นเข้าไว้ด้วยกัน สรุปได้ว่า การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าไหมซิ่นแตงโม สามารถส่งเสริมให้เป็นไปในแนวทางการต่อยอดเชิงพาณิชย์ ได้ โดยสรุปได้ดังนี้

สรุปได้ว่า  การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าไหมซิ่นแตงโม สามารถส่งเสริมให้เป็นไปในแนวทางการต่อยอดเชิงพาณิชย์ ได้ โดยสรุปได้ดังนี้

การศึกษาตลาด: ศึกษาตลาดและผู้บริโภคที่เป็นเป้าหมายในการตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าไหมซิ่นแตงโม ในที่นี้ควรให้ความสาคัญกับตลาดที่มีความต้องการและยอมรับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เช่น ตลาดสินค้าผ้าไหมคุณภาพสูงในประเทศไทย และตลาดสินค้าแฟชั่นที่ต้องการรูปแบบความแปลกใหม่จากการผสมผสานรูปแบบเชิงวัฒนธรรม

การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์: การทาวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ กรมหม่อนไหม ควรส่งเสริมแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความน่าสนใจและมีความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์จากไหมอื่นๆ โดยใช้ผ้าไหม ซิ่นลายแตงโมอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ไทยทรงดาเป็นวัตถุดิบหลัก เช่น ผ้าไหมจากซิ่นทรงดาที่มีรูปลักษณ์เฉพาะ หรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้ผ้าไหมซิ่นแตงโมเป็นวัตถุดิบสาคัญ เช่น เสื้อผ้าที่ผลิตด้วยผ้าไหมซิ่นแตงโมผสมผสานกับผ้าชนิดอื่นๆ โดยส่งเสริมการวิจัยที่เน้นไปที่คุณภาพการทอผ้าไหมร่วมด้วย

การออกแบบผลิตภัณฑ์: ออกแบบผลิตภัณฑ์ควรมีความสวยงามและทันสมัย โดย แนวทาง โดยใช้แนวคิดในการผสมผสานความคิดสร้างสรรค์ (Creative) นวัตกรรม (Innovation) และอัตลักษณ์พื้นถิ่นเข้า ไว้ด้วยกัน ใช้แนวทางการออกแบบที่เน้นความร่วมสมัยและให้ตรงความต้องการของผู้บริโภคในกลุ่มเป้าหมายที่กาหนด เช่น การใช้รูปลักษณ์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์และเฉพาะตัว การนาเอาผ้าไหมซิ่นแตงโมมาประกอบกับวัสดุอื่น เพื่อเพิ่มความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ในผลิตภัณฑ์ โดยใช้เทรนด์แฟชั่นเป็นตัวกาหนด

การสร้างแบรนด์: สร้างแบรนด์ที่มีความสามารถในการสร้างความน่าสนใจและความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ในที่นี้ควรสร้างแบรนด์ที่เน้นไปที่เรื่องราวของผ้าลายแตงโมของชุมชนและกระบวนการผลิตวัตถุดิบในการสร้างสรรค์ แสดงให้เห็นการพัฒนาคุณภาพของผ้าไหมซิ่นแตงโมอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ไทยทรงดาจาก การส่งเสริมของกรมหม่อนไหม และเน้นความเป็นธรรมชาติ และเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าเพิ่ม เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ผ้าไหมซิ่นแตงโมที่ผ่านกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยผ่านกระบวนการคิดจากชุมชน

การตลาดและการโฆษณา: ใช้กลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมในการสร้างความต้องการและยอมรับของผลิตภัณฑ์ การใช้สื่อออนไลน์และโซเชียลมีเดียเพื่อสร้างการติดตามและสร้างความสนใจในผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าไหมซิ่นแตงโม การพัฒนาการผลิต: พัฒนากระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และความยืดหยุ่นสูงเพื่อให้สามารถผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าไหมซิ่นแตงโมได้ในปริมาณที่เพียงพอต่อการตลาดและการตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยให้ความความรู้เรื่องเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้งานง่ายและเหมาะสมกับชุมชน

การสร้างความยั่งยืน: ให้ความสาคัญกับการทาธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยให้ความรู้และความมั่นใจกับชุมชน ว่าการพัฒนาการผลิตผ้าไหมซิ่นแตงโม เป็นแนวทางการพัฒนาผิตภัณฑ์ ที่ยั่งยืนและสอดคล้องกับหลักการอนุรักษ์ธรรมชาติ การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าไหมซิ่นแตงโม ผ้าไหมอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ไทยทรงดาของจังหวัดสุพรรณบุรี ต้องให้ความสาคัญกับคุณภาพการผลิต มีการตลาดที่เหมาะสม และการบริหารจัดการที่ดี เพื่อสร้างความสาเร็จและความเจริญรุ่งเรืองในธุรกิจผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าไหมซิ่นแตงโมในแนวทางที่ยั่งยืน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *