แนวทางการสร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์หม่อนไหมอย่างยั่งยืน  

แนวทางการสร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์หม่อนไหมอย่างยั่งยืน กรณีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทอผ้าบ้านอ่างเตย ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา

บทความโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รวิเทพ มุสิกะปาน

แนวทางการสืบทอดภูมิปัญญาด้านการทอผ้าที่มีกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างยั่งยืน ตัวอย่างชุมชนที่รวมกลุ่มที่สร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์หม่อนไหม ในแนวคิดแฟชั่นเพื่อความยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพและน่าจะเติบโตได้อย่างยั่งยืน กลุ่มหนึ่งใน จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทอผ้าบ้านอ่างเตย ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา 

     การใช้เรื่องราว เรื่องเล่าของพื้นที่มาใช้ในการสร้างมูลค่าในด้านการออกแบบ  เนื่องจากพื้นที่ของหมู่บ้านมีลักษณะเป็นอ่าง เมื่อนำมารวมกับความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยเตยป่าที่ขึ้นอยู่ในลำห้วยที่ไหลผ่านหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงพากันเรียกพื้นที่แห่งนี้ว่า “บ้านอ่างเตย”

     การใช้ทักษะด้านงานหัตถกรรมมาต่อยอดการสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างต่อเนื่องและยาวนาน   ชุมชนบ้านอ่างเตย  ประชากรส่วนใหญ่อพยพมาจากภาคอีสานตอนล่าง และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำไร่ ทำนา สวนผลไม้ ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม และได้มีการนำภูมิปัญญาการทอผ้าที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ  ซึ่งเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของทางภาคอีสานมาถือปฏิบัติจนเป็นภูมิปัญญาที่อยู่คู่กับวิถีชุมชน โดยชุมชนบ้านอ่างเตยมีการรวมตัวกันก่อตั้งกลุ่มทอผ้าไหมบ้านอ่างเตยขึ้น

     มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์งานหัตถกรรมในกระบวนการอย่างยั่งยืน  กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทอผ้าบ้านอ่างเตย มีกระบวนการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หม่อนไหม ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ โดยกลุ่มทอผ้าชุมชนบ้านอ่างเตย เป็นกลุ่มทอผ้าที่ดำเนินการในการสืบทอดภูมิปัญญาด้านการทอผ้าที่ ครบวงจรตั้งแต่การปลูกหม่อน เลี้ยงไหม การทอผ้า การย้อมสีด้วยสีธรรมชาติ มีลวดลายผ้าขาวม้า ลวดลายผ้าลายโฮล ลวดลายมัดหมี่ดั้งเดิมของภูมิปัญญาทางภาคอีสาน และผ้าไหมมัดหมี่ลายหนามเตย ที่เป็นลายเอกลักษณ์ของชุมชนบ้านอ่างเตย ตลอดจนการนำผ้าทอไปตัดเย็บเป็นกระเป๋า และผลิตภัณฑ์ของใช้ของที่ระลึกอื่นๆ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน “กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทอผ้าบ้านอ่างเตย” ยังเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมด้านการทอผ้า โดยเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวเข้าชมแปลงหม่อน และทดลองสาวไหม ทอผ้าด้วยตนเอง จึงเป็นเหตุให้มีหน่วยงาน องค์กร และประชาชน เข้าศึกษาดูงานและเยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชน “กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทอผ้าบ้านอ่างเตย”จำนวนมากและต่อเนื่อง

        จากการลงพื้นที่ของคณาจารย์ หลักสูตรแฟชั่น สิ่งทอและเครื่องตกแต่ง ในโครงการความร่วมมือพัฒนางานออกแบบผลิตภัณฑ์ไหมไทยเชิงสร้างสรรค์ประจำปี 2566 ระหว่างหลักสูตรแฟชั่น สิ่งทอและเครื่องตกแต่ง กับ สำนักวิจัยและพัฒนาหม่อนไหม กลุ่มวิจัยการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  โดย ผู้ทรงคุณวุฒิ จาก หลักสูตรแฟชั่น สิ่งทอและเครื่องตกแต่ง วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หัวหน้านักวิจัยโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รวิเทพ มุสิกะปาน  อาจารย์ ดร. กรกลด คำสุข ผู้ช่วยศาสตาจารย์ ดร. อรัญ วานิชกร อาจารย์ แพรวา รุจิดำรง  ผู้ทรงคุณวุฒิ จากกรมหม่อนไหม น.ส.สมพร เลิศจิรกุล นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ นายสุรเดช ธีระกุล นักวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ชำนาญการ นางสาวจิรติกร จูจันทร์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ สรุปผลการวิเคราะห์ถึงจุดแข็งและจุดอ่อนในด้านต่างๆร่วมกัน ได้ดังนี้

        ด้านการผลิต กลุ่มทอผ้าชุมชนบ้านอ่างเตย เป็นกลุ่มทอผ้าที่ดำเนินการในการสืบทอดภูมิปัญญาด้านการทอผ้าที่ ครบวงจรตั้งแต่การปลูกหม่อน เลี้ยงไหม การทอผ้า ครบวงจรได้ด้วยสมาชิกในกลุ่ม ที่มีสมาชิกความเชี่ยวชาญทำได้ครบทุกกระบวนการเกิน 70 เปอร์เซ็นต์ ของสมาชิกในกลุ่ม และมีความเชี่ยวชาญ ด้านการย้อมสีธรรมชาติได้สวยงามและเป็นเอกลักษณ์ เช่น สีเหลือง ได้จากประโหด ดอกดาวเรือง สีน้ำตาล ได้จากฝักคูน
สีดำ ได้จากเปลือกยูคาทับโคลน ส่งมอบภูมิปัญญาการทอผ้าของชาวอีสานสู่ลูกหลานกว่า 3 รุ่นแล้ว
พวกเขาจัดตั้งกลุ่มทอผ้าไหมบ้านอ่างเตยขึ้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2536 ต่อมาได้จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

        ด้านลวดลายและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กลุ่มทอผ้าชุมชนบ้านอ่างเตย เป็นกลุ่มทอผ้าที่ดำเนินการในการสืบทอดภูมิปัญญาด้านการทอผ้าที่ความเชี่ยวชาญในลวดลายอัตลักษณ์ดั้งเดิม ลวดลายผ้าขาวม้า ลวดลายผ้าลายโฮล มีลวดลายร่วมสมัยอัตลักษณ์ที่จดจำได้ คือ ผ้าไหมมัดหมี่ลายหนามเตย

         ด้านการตลาด กลุ่มทอผ้าชุมชนบ้านอ่างเตย เป็นกลุ่มทอผ้าที่ดำเนินการในการสืบทอดภูมิปัญญาด้านการทอผ้าที่มีการตลาดในรูปแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่ได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากภาครัฐ กรมหม่อนไหม
และกรมพัฒนาชุมชน

     สิ่งที่ต้องพัฒนาและต่อยอด ควรเร่งกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการผลิต ตั้งแต่การปลูกหม่อน เลี้ยงไหม การทอผ้า ให้กับทายาทหรือผู้ที่ต้องการเข้ามาเป็นสมาชิกในกลุ่มเพิ่มเติมที่มีอายุน้อยกว่า เพราะสมาชิกกลุ่มทอผ้าชุมชนบ้านอ่างเตย ปัจจุบันเป็นกลุ่มทอผ้าที่เป็นผู้อายุเฉลี่ยเกิน 50 ปี ถึงแม้กลุ่มทอผ้าชุมชนบ้านอ่างเตย มีความเชี่ยวชาญในลวดลายอัตลักษณ์ดั้งเดิม ลวดลายผ้าขาวม้า ลวดลายผ้าลายโฮล และมีลวดลายร่วมสมัย ผ้าไหมมัดหมี่ลายหนามเตย แต่ยังไม่มีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์แฟชั่นร่วมสมัยในรูปแบบใหม่ๆ กลุ่มทอผ้าชุมชนบ้านอ่างเตย ยังขาดองค์ความรู้ด้านการตลาดผลิตภัณฑ์แฟชั่นของชุมชน ในด้านการประชาสัมพันธ์และการขาย ในการพึ่งพาตัวเอง เช่น การประชาสัมพันธ์และจัดจำหน่ายสินค้าในรูปแบบออนไลน์

         โดยแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สรุปได้ว่า ใช้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ในแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ดำเนินการออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์ (Fashion Lifestyle)  โดยใช้แนวคิดในการผสมผสานความคิดสร้างสรรค์ (Creative) นวัตกรรม (Innovation) และอัตลักษณ์พื้นถิ่นเข้าไว้ด้วยกัน คือ การนำแนวคิดด้านการอนุรักษ์งานหัตกรรมเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ด้วยการแสดงความเคารพคุณค่าทางศิลปหัตถกรรม และวัฒนธรรมมาผสมผสานการใช้ชีวิตในวิถีปัจจุบันได้อย่างกลมกลืน เพื่อให้สิ่งที่มีคุณค่าในอดีตจากความหลากหลายถูก ต่อยอดและอยู่ร่วมกับคนรุ่นใหม่ ทั้งนี้จากการลงพื้นที่ สรุปได้ว่าการพัฒนาผลิตภัณฑ์ แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แฟชั่นในแนวทาง Zero Waste ที่เหมาะสมกับการออกแบบแฟชั่นจากวัสดุท้องถิ่นเพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์และสอดคล้องกับศักยภาพกระบวนการผลิตของกลุ่มทอผ้าชุมชนบ้านอ่างเตย ได้อย่างยั่งยืน  

    แรงบันดาลใจในการออกแบบ (Inspiration) ดำเนินการออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์ (Fashion Lifestyle)  โดยใช้แนวคิดในการผสมผสานความคิดสร้างสรรค์ (Creative) นวัตกรรม (Innovation) และอัตลักษณ์พื้นถิ่นเข้าไว้ด้วยกัน คือ การนำแนวคิดด้านการอนุรักษ์งานหัตกรรมเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ด้วยการแสดงความเคารพคุณค่าทางศิลปหัตถกรรม และวัฒนธรรมมาผสมผสานการใช้ชีวิตในวิถีปัจจุบันได้อย่างกลมกลืน เพื่อให้สิ่งที่มีคุณค่าในอดีตจากความหลายหลายถูก ต่อยอดและอยู่ร่วมกับคนรุ่นใหม่ ในแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) หากพูดกันแบบง่าย ๆ ก็คือ แนวคิดที่สนับสนุนให้เราใช้สิ่งของหรือทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด มีการวางแผนให้สิ่งของที่เราใช้สามารถคืนสู่สภาพเดิมหรือพร้อมนำกลับมาใช้  โดยใช้ชื่อ Collection ว่า “Cyclical Beauty”

        โดยใช้การเลือกผ้าผืนที่สำเร็จ ผ้าไหมทอมือย้อมสีธรรมชาติ เลือกสีจากหนังสือแนวโน้มและทิศทางผ้าไทยและการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย เล่มที่ 3 (Thai Textiles Trend Book Spring/Summer 2023) ใน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา กลุ่มสี ตัวตนข้ามวัฒนธรร (Expressive Exotic) ที่มีแนวคิด ประสบการณ์จากการเดินทาง มีส่วนในการช่วยเพาะบ่มอัตลักษณ์ ของผู้คนให้งอกเงยยิ่งได้พบเห็น งานศิลป์ และสัมผัสวัฒนธรรมอันหลากหลายมากเท่าใด ความเจนจัดในแง่ตัวตนและทักษะทางความคิดสร้างสรรค์ก็ยิ่งสั่งสมจนสามารถสร้างความรู้สึกอิ่มเอมดื่มด่ำใจได้มากขึ้นเท่านั้น ตัวตนของกลุ่มคน เหล่านี้เปรียบได้กับจุดตัดอันสลับ- ซับซ้อนระหว่าง “เวลาที่พอกพูน” กับ “วัฒธรรมอันหลากหลาย” โดยเลือกสี  ทองคำเปลว รหัส PANTONE 15-1049 TCX  ไฟฑูรย์ PANTONE 12-0740 TCX   ปะการัง PANTONE 16-1362 TCX   ปูนแดง PANTONE 15-1435 TCX   หยกอ่อน  PANTONE 13-6110 TCX  เขียวมะนาว PANTONE 14-0340 TCX   

        แนวทางในการออกแบบเริ่มจากการศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับหลักการและเทคนิคของการออกแบบและการตัดเย็บในแนวคิด Zero Waste ให้สอดคล้องกระบวนการออกแบบและผลิตผ้าไหมทอมือย้อมสีธรรมชาติของกลุ่มทอผ้าชุมชนบ้านอ่างเตยคัดเลือกวัสดุท้องถิ่นของกลุ่มทอผ้าชุมชนบ้านอ่างเตย: เลือกใช้วัสดุที่ผลิตในท้องถิ่นของกลุ่มทอผ้าชุมชนบ้านอ่างเตย โดยเลือกใช้ผ้าทอมือที่มีการผลิตเป็นผืนผ้าในขนาดมาตรฐานที่ผลิตอยู่แล้ว และมีกระบวนการผลิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นน้ำและมีการสร้างเอกลักษณ์ที่โดดเด่น เช่น การย้อมสีธรรมชาติ และการผสมผสานเส้นไหมที่แตกต่าง  

ภาพร่างแฟชั่นโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รวิเทพ มุสิกะปาน

        ใช้กระบวนการออกแบบรูปแบบผลิตภัณฑ์แนวทาง Zero Waste: ใช้เทคนิคการออกแบบที่มีการใช้ผ้าโดยไม่ตัดและหรือกระจายของส่วนของผ้าที่เหลือใช้ให้มากที่สุด ตั้งแต่รูปร่างของผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการกำหนดแพทเทิร์นและลดขั้นตอนการตัดเย็บ มีถ่ายทอดองค์ความรู้และการฝึกอบรม: ส่งเสริมความรู้และทักษะให้กับสมาชิกกลุ่มทอผ้าชุมชนบ้านอ่างเตย ที่สามารถเป็นช่างที่เกี่ยวข้องกับการตัดเย็บ Zero Waste เพื่อเพิ่มความรู้และสามารถนำเสนอแนวทางใหม่ๆ ในกระบวนการผลิตแฟชั่น Zero Waste     หลังจากกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และผลิตต้นแบบร่วมกันกับกลุ่มทอผ้าชุมชนบ้านอ่างเตย ทางโครงการจัดกิจกรรมให้คำแนะนำกลุ่มเกษตรกรในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในกระบวนการผลิตต้นแบบ (Prototype) ผลิตภัณฑ์ไหมไทยผลิตภัณฑ์ในเชิงลึก โดยใช้แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แฟชั่น แบบ Zero Waste ที่เหมาะสมกับการออกแบบแฟชั่นจากวัสดุท้องถิ่น เพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์และสอดคล้องกับศักยภาพกระบวนการผลิตของกลุ่มทอผ้าชุมชนบ้านอ่างเตย โดยถ่ายทอดองค์ความรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Zero Waste

    

           

        โดยการอธิบายเกี่ยวกับหลักการและเทคนิคของการออกแบบและการตัดเย็บในแนวคิด Zero Waste ให้สอดคล้องกระบวนการออกแบบและผลิตผ้าไหมทอมือย้อมสีธรรมชาติของกลุ่มทอผ้าชุมชนบ้านอ่างเตย ให้มีการคัดเลือกวัสดุท้องถิ่นของกลุ่ม โดยเลือกใช้ผ้าทอมือที่มีการผลิตเป็นผืนผ้าในขนาดมาตรฐานที่ผลิตอยู่แล้ว และมีกระบวนการผลิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นน้ำและมีการสร้างเอกลักษณ์ที่โดดเด่น เช่น การย้อม
สีธรรมชาติ และการผสมผสานเส้นไหมที่แตกต่างกัน และใช้เทคนิคการออกแบบที่มีการใช้ผ้าโดยไม่ตัดและหรือกระจายของส่วนของผ้าที่เหลือใช้ให้มากที่สุด ตั้งแต่รูปร่างของผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการกำหนดแพทเทิร์นและลดขั้นตอนการตัดเย็บ รวมถึงการคำปรึกษากลุ่มเกษตรกรดำเนินการจัดทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบ สำหรับการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ในงานแสดงผลงาน/ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง โดยการนำเสนอตัวอย่างการถ่ายภาพแฟชั่นผลิตภัณฑ์ต้นแบบอย่างง่ายๆ เพื่อให้กลุ่มฯ สามารถนำไปต่อยอดในการนำเสนอสินค้าของกลุ่มฯ ต่อไป

ผลงานการออกแบบและการผลิตภัณฑ์สินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์ (Fashion Lifestyle) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทอผ้าบ้านอ่างเตย ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา 

 

บทสรุปจากการออกแบบและการผลิตภัณฑ์สินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์ (Fashion Lifestyle) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทอผ้าบ้านอ่างเตย ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่สอดคล้องกับความต้องการในอุตสาหกรรมแฟชั่นโลก สามารถสรุปแนวทางการพัฒนาได้ดังนี้

      การบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น: การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่น เช่น การใช้ลายละเอียดจากการทอผ้าท้องถิ่นหรือกระบวนการสร้างสรรค์ผ้าไทยที่มีเอกลักษณะเฉพาะ เช่น การย้อมสีธรรมชาติ การสร้างสรรค์ลวดลาย ขนาดของผืนผ้า ผ้าที่ทอด้วยเทคนิคพิเศษจากการทอผ้าไหมไทยที่ให้ลักษณะทางสีและลวดลายที่เฉพาะเจาะจง

     การใช้วัสดุท้องถิ่น: การเลือกใช้วัสดุท้องถิ่นที่มีคุณภาพและเป็นเอกลักษณ์ที่หลากหลาย ข้ามวัฒนธรรม
ที่สามารถเชื่อมโยงกระบวนการผลิตได้และยึดแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาอย่างยั่งยืนร่วมกัน

     การนำเสนอแนวทางในการออกแบบผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น: แนวทางในการออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นภูมิปัญญาไทยควรเน้นการรักษาความสมดุลระหว่างสไตล์และความทันสมัย โดยการปรับแต่งรูปทรงและลายละเอียดให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดโลก รวมถึงแนวทางของอุตสาหกรรมแฟชั่นในกระแสโลก ในที่นี้คือการออกแบบแฟชั่นเพื่อความยั่งยืน ในแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) 

     การสืบทอดภูมิปัญญาด้านการทอผ้า: การสืบทอดภูมิปัญญาด้านการทอผ้าเป็นขั้นตอนสำคัญใน
การพัฒนาผลิตภัณฑ์แฟชั่นภูมิปัญญาไทย  นอกจากดำเนินการในการสืบทอดภูมิปัญญาด้านการทอผ้า
ที่ครบวงจรตั้งแต่การปลูกหม่อน เลี้ยงไหม การทอผ้า  และพัฒนาลวดลายให้สอดคล้องกับความต้องการ
ตรงตามกระแสแฟชั่นโลกแล้วควรพัฒนาการใช้เทคนิคการทอผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยเพื่อผลิตผ้าที่มีคุณภาพและสามารถแข่งขันในตลาดนานาชาติได้

     การผสมผสานสไตล์และนวัตกรรม: การผสมผสานระหว่างภูมิปัญญาและนวัตกรรมเป็นสิ่งสำคัญใน
การสร้างผลิตภัณฑ์แฟชั่นที่น่าสนใจและทันสมัย การใช้เทคโนโลยีในการออกแบบ การตัดเย็บ และการผลิตสามารถเพิ่มความมั่นใจในคุณภาพและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ โดยยึดแนวทางความสามารถทางทักษะฝีมืองานหัตถกรรมดั้งเดิมเป็นหลัก ร่วมกับแนวคิดเชิงนวัตกรรมด้านการออกแบบเป็นหลักโดยไม่ยึดติดกับเทคโนโลยี

     ด้วยแนวทางเหล่านี้ การพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นภูมิปัญญาไทยจะสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทั้งด้านวัสดุ สไตล์ และนวัตกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการในอุตสาหกรรมแฟชั่นโลกอย่างยั่งยืนได้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *